• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
 
 
 
 
 
 

Green Office

หมวด 5
สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

หมวด/ตัวชี้วัด หลักฐาน/เอกสารอ้างอิงการตรวจประเมิน

5.1 อากาศในสำนักงาน

5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน

(1) มีแผนการดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
(2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนการดูแลบำรุงรักษา
(3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ 1
(4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1
(5) การจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร (Printer) ให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
(6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
(7) การป้องกันอันตรายจากการพ่นยากำจัดแมลง (ถ้ามี)
(8) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่าย เป็นหลักฐานประกอบ)

5.1.1 (1) (2) มีแผนการดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ
เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) ม่าน พื้นห้อง เพดาน

       สำนักกฎหมายได้มีการจัดทำแผนการดูแลบำรุงรักษา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้แก่ เครื่องพิมพ์
เอกสาร (Printer) เครื่องปรับอากาศ รายละเอียด ดังนี้

- แผนการบำรุงรักษาของสำนักกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567
(เอกสารแนบ)
- แผนควบคุมตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
ภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 (เอกสารแนบ)
- แผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่สร้างมลพิษทางอากาศของ
สำนักกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เอกสารแนบ)
- แผนการตรวจสอบ ดูแล และบำรุงรักษา ม่าน พื้น เพดาน
ของสำนักกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(เอกสารแนบ)


5.1.1 (3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ 1
- การตรวจสอบการบำรุงรักษาเชิงป้องกันระบบ
เครื่องปรับอากาศ ชั้น 9 โซน c

   ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
   ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.

- รายงานการตรวจ ดูแล และบำรุงรักษาม่าน พื้นห้อง เพดาน
ของสำนักกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
   ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
   ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.

 

5.1.1 (4) (5) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติ
ในข้อ 1 และการจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer)
ให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
(เอกสารแนบ)

            สำนักกฎหมายมีการตรวจสอบบำรุงรักษา
เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร

ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.


5.1.1 (6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน
เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์

          สำนักกฎหมายได้มีการรณรงค์ขอความร่วมมือ
จากบุคลากรในสำนักให้ดำเนินการดับเครื่องยนต์ทุกครั้ง
ขณะจอดรถภายในอาคารผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์
ของสำนักกฎหมาย เพื่อควบคุมควันไอเสียรถยนต์
และได้มีการติดป้ายดับเครื่องยนต์บริเวณลานจอดรถ

(เอกสารแนบ)
          นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดทำรายงานการดำเนินการ
ควบคุมอากาศจากมลพิษที่เกิดจากเครื่องถ่ายเอกสาร
และเครื่องพิมพ์เอกสาร (printer) และการควบคุมควัน
จากท่อไอเสียรถยนต์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

(เอกสารแนบ)


5.1.1 (7) การป้องกันอันตรายจากการพ่นยากำจัดแมลง
               สำนักกฎหมายไม่มีการกำจัดแมลงโดยการพ่น
สารเคมีภายในสำนัก โดยในการป้องกันอันตรายจากแมลง
อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักบริหารงานกลาง สำนักงาน
เลขาธิการวุฒิสภา


5.1.1 (8)
มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษ
ทางอากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเตรียมความพร้อม
และระวังการได้รับอันตราย

             สำนักกฎหมายได้มีการสื่อสารหรือแจ้งให้บุคลากร
ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ
เพื่อให้บุคลากรมีการเตรียมความพร้อมและระวัง
การได้รับอันตราย

(เอกสารแนบ)

 

 

5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่
ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด

(1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
(2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
(3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
(4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน
รำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า-ออก
ของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่
ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
(5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่

5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนดพื้นที่สูบบุหรี่
ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด

5.1.2 (1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
               สำนักกฎหมายมีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
โดยได้มีการจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
ไว้ในสำนักกฎหมาย เพื่อเป็นการป้องกันและลดมลพิษ
ด้านสิ่งแวดล้อม เสริมสร้างสุขภาวะทางกายแก่บุคลากร
(เอกสารแนบ)
              หมายเหตุ สำนักกฎหมายไม่มีบุคลากรในสำนัก
สูบบุหรี่


5.1.2 (2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
               สำนักกฎหมายได้มีการติดป้ายห้ามสูบบุหรี่
ในบริเวณสำนัก (เอกสารแนบ)

5.1.2 (3) (4) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่ และเขตสูบบุหรี่
จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ
แก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า-ออกของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น

              สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้จัดพื้นที่สูบบุหรี่ไว้
ณ บริเวณชั้น 1 โซนโรงอาหาร (ด้านนอกของตัวอาคาร)
พร้อมทั้งมีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่ไว้
(เอกสารแนบ) 
 แผนผังแสดงพื้นที่สูบบุหรี่            
              ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์
ยาสูบ พ.ศ. 2560 มาตรา 44
(เอกสารแนบ)

5.1.2 (5) ไม่พบการสูบบุหรี่หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่
             สำนักกฎหมายได้มีการตรวจสอบไม่พบการสูบบุหรี่
หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่ พร้อมทั้งได้มีการจัดทำรายงาน
ประจำเดือนทุกเดือน
             รายงาน ณ วันที่ตรวจไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่
นอกเขตสูบบุหรี่ 

       ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
       ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.

 

5.1.3 การจัดการมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
หรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษทางอากาศ
จากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) แนวทาง
การกำหนดมาตรการมีดังนี้
- มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
- มีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศที่จะส่งผลกระทบ
กับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
- มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียม
ความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
หรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

5.1.3 (1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ
ทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร

               สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ออกประกาศ
ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เรื่อง มาตรการป้องกัน
และรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศ
และมลพิษทางเสียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 
(เอกสารแนบ)        

5.1.3 (2)  ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1)
                สำนักกฎหมายไม่มีการก่อสร้างหรือปรับปรุง
สำนักแต่สำนักกฎหมายได้มีการประชาสัมพันธ์แจ้งให้
บุคลากรในสำนักทราบ เรื่อง มาตรการป้องกันและรองรับ
ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษ
ทางเสียงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(เอกสารแนบ)

 

5.2 แสงในสำนักงาน

5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด

(1) มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปีพร้อม แสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุด ทำงานแลพื้นที่ทำงาน
(2) เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
(3) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
(4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด

5.2.1 (1) (2) (3) (4) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
เวลา 10.00 นาฬิกา ณ สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการ
วุฒิสภา ชั้น 9 อาคารรัฐสภา อาจารย์พฤทธิ์เลิศ บุญเลิศ
อาจารย์ที่ปรึกษาศูนย์ให้การรับรองมาตรฐานสิ่งแวดล้อม
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้ใช้เครื่องมือตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ได้เข้าตรวจวัด
ความเข้มของแสงสว่างภายในสำนักกฎหมาย ซึ่งได้มีการใช้
อุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างที่ได้รับการสอบเทียบ
ซึ่งพบว่าทุกพื้นที่ปฏิบัติงานและห้องประชุมของสำนักกฎหมาย
มีค่ามาตรฐานเฉลี่ยความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่า 400 Lux
ดังนั้น สำนักกฎหมายจึงไม่ต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มความเข้ม
ของแสงสว่างให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดแต่อย่างใด
(เอกสารแนบ)

5.3 เสียง

5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน

(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน

5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน

(1) สำนักกฎหมายได้มีการกำหนดมาตรการป้องกัน
และรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศ
และมลพิษทางเสียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(เอกสารแนบ)
(2) พื้นที่สำนักกฎหมายไม่มีแหล่งกำเนิดเสียงที่ก่อให้เกิด
มลพิษทางเสียง

5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่ เกิดจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน แนวทางการกำหนดมาตรการ มีดังนี้
– มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
– มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆ
ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

(1) สำนักกฎหมายได้มีการกำหนดมาตรการป้องกัน
และรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศ
และมลพิษทางเสียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(เอกสารแนบ)
(2) พื้นที่สำนักกฎหมายไม่มีแหล่งกำเนิดเสียงที่ก่อให้เกิด
มลพิษทางเสียง

5.4 ความน่าอยู่

5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยจะต้อง
ดำเนินการ ดังนี้

(1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร
โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน.เช่น.พื้นที่พักผ่อน
หย่อนใจ.พื้นที่สีเขียว.พื้นที่ส่วนรวมและพื้นที่ทำงาน.เป็นต้นสามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่น ๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้
(2).มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม
ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
(3).มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาด
และความเป็นระเบียบเรียบร้อย.ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร

(4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตามแผนงาน

5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้

5.4.1 (1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคาร
และนอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน
เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวมและ
พื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่น ๆ
ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้

               สำนักกฎหมายได้มีการจัดทำแผนผังสำนัก
และกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างช้ดเจน เช่น พื้นที่สีเขียว
พื้นที่ปฏิบัติงาน พร้อมทั้งสื่อสารด้วยป้ายบ่งชี่้ในแต่ละพื้นที่
               แผนผังสำนักและป้ายชื่อห้อง (เอกสารแนบ)

      5.4.1 (2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
อย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป
ทั้งในอาคารและนอกอาคาร

        สำนักกฎหมายมีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ
ตามแผนการดูแลรักษาและมีแม่บ้านช่วยทำความสะอาด
พื้นที่ในสำนักกฎหมาย (เอกสารแนบ)

      5.4.1 (3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษา
ความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไปทั้งในอาคาร
และนอกอาคาร

                    สำนักกฎหมายได้มีการจัดกิจกรรม
Big Cleaning Day มาแล้ว
จำนวน 1 ครั้ง และกิจกรรม 5 ส
เป็นประจำทุกเดือน
Big Cleaning Day  - ครั้งที่ 1 วันที่ 16 ธันวาคม 2566
                           - ครั้งที่ 2 ..........
กิจกรรม 5 ส  ปี 2566 - ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
                   ปี 2567 - ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.
รายงานกิจกรรม 5 ส ไตรมาส - ไตรมาสที่ 1
                                        - ไตรมาสที่ 2
                                        - ไตรมาสที่ 3
                                        - ไตรมาสที่ 4                         

5.4.1 (4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
และคงรักษาไว้ของสำนักงาน รวมไปถึงการปฏิบัติจริงตามแผน

             สำนักกฎหมายไม่มีแผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เนื่องจากมีการดำเนินการในปีนี้
เป็นปีแรก และได้มีการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่สีเขียวไว้
เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยน่าอยู่ เป็นที่ที่บุคลากรสามารถ
ใช้พักผ่อนหย่อนใจได้

 

5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด

5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด

บันทึกการตรวจสอบการใช้ประโยชน์และการดูแลรักษาพื้นที่
ของสำนักกฎหมาย
ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.

5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่สีเขียว
พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่สีเขียว
พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

สำนักกฎหมายมีการจัดทำแผนเพื่อดูแลบำรุงรักษา
พื้นที่ต่าง ๆ พร้อมทั้งจัดทำรายงานรายเดือน ดังนี้
(1)  แผนการดูแลพื้นที่สีเขียวและมุมพักผ่อน
ของสำนักกฎหมาย ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 (เอกสารแนบ)
- รายงานรายเดือน
ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.
(2) แผนการดูแลพื้นที่กิจกรรม 5 ส ของสำนักกฎหมาย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เอกสารแนบ)
- รายงานรายเดือน
ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.
(3) แผนการดูแลพื้นที่ในสำนักกฎหมาย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เอกสารแนบ)
- รายงานรายเดือน
ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.

5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด

(1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรค
ในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ
และอื่น ๆ
(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
อย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
(3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด
(เฉพาะตอนกลางวัน)
(4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอย
สัตว์พาหะนำโรค
(5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์พาหะนำโรคในระหว่าง
การตรวจประเมิน
หมายเหตุ : การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงาน
สามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะ
มาดำเนินการแทน

5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด

5.4.4 (1) (2) (4) สำนักกฎหมายมีการกำหนดแนวทาง
การป้องกันสัตว์พาหะนำโรค กำหนดความถี่ในการตรวจสอบ
เดือนละ 1 ครั้ง โดยมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน
และมีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอย
สัตว์พาหะนำโรค (เอกสารแนบ)
5.4.4 (3) (5) สำนักกฎหมายมีการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะ
นำโรคเป็นประจำเดือนทุกเดือน โดยปรากฎผลดังนี้
- รายงานประจำเดือน
ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.


 

5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด

(1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
(2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของพนักงานทั้งหมด
(3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดง
หลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
(5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน
เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
(6) มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดง
อย่างชัดเจน
(7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟไปยัง
จุดรวมพลพร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
(8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟพร้อมมี
ป้ายแสดงอย่างชัดเจน

5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด
         5.5.1 (1) (2) (3) (4) (5) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและ
อพยพหนีไฟ โดยบุคลากรของสำนักต้องเข้าร่วมซักซ้อมในแต่ละครั้ง
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 และฝึกซ้อมอพยพหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ตามแผนที่กำหนด โดยมีการจัดทำรายงานในแต่ละครั้ง
        - ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 บุคลากรของสำนักกฎหมาย
ได้มีการเข้าร่วมซักซ้อมอพยพหนีไฟจำนวน 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้ง
มีบุคลากรเข้าร่วมมากกว่าร้อยละ 40 พร้อมทั้งมีภาพประกอบ
อย่างชัดเจน ซึ่งปรากฎในรายงาน
        - ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2566 โดยไม่มีการแจ้ง
กำหนดการล่วงหน้า (เอกสารแนบ)
(คลิปวิดีโอการซักซ้อมอพยพหนีไฟ)
        - ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2567 (เอกสารแนบ)
(คลิปวิดีโอการซักซ้อมอพยพหนีไฟ)
        - ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 (เอกสารแนบ)
(คลิปวิดีโอการซักซ้อมอพยพหนีไฟ) (ใบประกาศการฝึกอบรม
กับบริษัท ซีพี ออลล์
)

         5.5.1 (6) มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
        - สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้มีการกำหนดจุดรวมพล
พร้อมมีป้ายบอกอย่างชัดเจน จำนวน 2 จุด ได้แก่ บริเวณริมแม่น้ำ
เจ้าพระยา และบริเวณด้านหน้าถนนสามเสน (เอกสารแนบ)
         5.5.1 (7) (8) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟ
ไปยังจุดรวมพลพร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน และมีการกำหนด
ทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟพร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
        - สำนักกฎหมายมีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ มีธงนำทางหนีไฟ
บริเวณหน้าสำนัก มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน และมีป้ายทางหนีไฟ
แสดงอย่างชัดเจน (เอกสารแนบ)
    
 

5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละ
ของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละ
ของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

        - แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (เอกสารแนบ)
      - แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย สำนักกฎหมาย
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (เอกสารแนบ)

      ทั้งนี้ บุคลากรของสำนักกฎหมายได้มีการศึกษาแผนทั้ง
2 ฉบับ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ฉุกเฉิน

5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิง
และป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละ
ของพนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว
(สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

(1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
– ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่าง
อย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจากพื้น
ไม่เกิน 150 เซนติเมตร นับจากคันบีบและถ้าเป็นวางกับพื้นที่
จะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
– ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
– สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose
Station) ถ้ามี
(2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
– สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตร
หรืออาคารสูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
– ติดตั้งตัวดักจับควัน (smoke detector) หรือความร้อน
(heat detector)
(3) มีการตรวจสอบข้อ (1) - (2) และหากพบว่าชำรุด
จะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
(4) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์
ดับเพลิงและสัญญาณแจ้ง เตือนอย่างน้อยร้อยละ 75
จากที่สุ่มสอบถาม
(5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณแจ้งเหตุ
เพลิงไหม้

5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบ
ดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุ
เพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และ
ตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว(สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

 
         5.5.3 (1) (2) (4) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือน และพนักงานต้องเข้าใจวิธีการใช้
และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้งเตือน

          - สำนักกฎหมายมีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
โดยมีถังดับเพลิงจำนวน 2 ถัง ติดตั้งตามกฎหมาย มีระบบสัญญาณ
แจ้งเตือนเหตุฉุกเฉิน ซึ่งพนักงานทุกคนรับทราบข้อมูลผ่านทาง
การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในแอปพลิเคชันไลน์อย่างสม่ำเสมอ
และสำนักกฎหมายได้มีการจัดโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับอุปกรณ์
ดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัยและระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
โดยวิทยากรจากสำนักบริหารงานกลาง สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
เป็นผู้บรรยายให้ความรู้ ทำให้บุคลากรทุกคนสามารถใช้อุปกรณ์
ถังดับเพลิงได้อย่างถูกต้อง มีความรู้ความเข้าใจในระบบต่าง ๆ
อย่างชัดเจน โดยปรากฎข้อมูลตามรายงาน (เอกสารแนบ)

(คลิปวิดีโอสาธิตการใช้ถังดับเพลิง)
          5.5.3 (3) มีการตรวจสอบข้อ (1) - (2) และหากพบว่าชำรุด
จะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข

          - สำนักกฎหมายมีการตรวจสอบถังดับเพลิงเป็นประจำ
ทุกเดือนตาม checklist ที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งมีการจัดทำรายงาน
ทุกเดือน

          > รายงานการตรวสอบอุปกรณ์ระบบดับเพลิงของสำนักกฎหมาย
             ถังดับเพลิงที่อยู่บริเวณหน้าห้องกลุ่มงานกฎหมาย 2
             ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
             ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.
         ถังดับเพลิงที่อยู่ในห้องประชุมสำนักกฎหมาย (ได้รับมอบเดือนธันวาคม 2566)
             ปี 2566 - เดือน ธ.ค.
             ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.

          > รายงานการตรวสอบอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยและรายงาน
ตรวจสอบถังดับเพลิงผ่าน google forms ของสำนักงานเลขาธิการ
วุฒิสภา

             ปี 2566 - เดือน ต.ค. , พ.ย. , ธ.ค.
             ปี 2567 - เดือน ม.ค. , ก.พ. , มี.ค. , เม.ย. , พ.ค. , มิ.ย.
          5.5.3 (5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณ
แจ้งเหตุเพลิงไหม้

          - บริเวณที่วางถังดับเพลิงทั้ง 2 จุดของสำนักกฎหมาย
ไม่มีการวางสิ่งกีดขวาง โดยปรากฎข้อมูลตามรายงาน
(เอกสารแนบ)