• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
 
 
 
 
 
 

สำนักงานสีเขียว

หมวดที่ 4
 การจัดการของเสีย

หมวด/หมวด เอกสาร/เอกสารอ้างอิงสำหรับต่อไป

4.1 การจัดการของเสีย

4.1.1 ทำตามต่อไปนี้ ขยะมูลฝอย คัดแยก รวบรวมและจัดระเบียบอย่างเหมาะสมมีขั้นตอนการปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) คัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในองค์กรและการใช้งานตามพื้นที่ทำงานต่างๆ โดยให้ทุกจุดที่สังเกตเห็น
(2) ต้องติดป้ายห้ามขยะประเภทที่ถูกต้องและทุกอย่างชัดเจน ถังที่ตรวจสอบการตรวจสอบ
(3) กำหนดให้ขยะพักตามปกติของนักวิชาการโดยต้องมีพื้นที่รองรับแต่ละประเภทจากข้อ (1) ข้อบังคับ

(4) ขอให้ทิ้งขยะ ทุกจุดตรวจสอบ
(5) มีถังขยะให้อปท. หรือผู้รับจ้างทำงานหนักมาก
(6
) ขยะต้องเป็นหน้าที่ของผู้จ้างงานเท่านั้นที่จะช่วยให้บทเรียนหลักเกี่ยวกับขยะไม่มีการเผาใดๆ หรือพื้นที่ของสำนักงาน ต้อง)



 

คณะทำงานหมวด 4 การจัดการของเสีย ในคณะทำงานดำเนินการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ของสำนักกฎหมาย ได้ดำเนินการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นภายในสำนักกฎหมาย โดยคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการจัดทำแผนดำเนินงาน เพื่อมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบดำเนินการดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมายเลข 1 แผนการดำเนินการขับเคลื่อนสู่สำนักงานสีเขียว (Green Office) หมวด 4 การจัดการของเสีย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักกฎหมาย และได้ดำเนินการตามแผนฯ อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำสม่ำเสมอ ดังมีรายละเอียดในการดำเนินการ ดังนี้
4.1.1 ทำตามต่อไปนี้ ขยะมูลฝอย คัดแยก รวบรวมและจัดระเบียบอย่างเหมาะสมมีขั้นตอนการปฏิบัติดังต่อไปนี้

      (1) ดำเนินมาตรการการจัดการทิ้งขยะแต่ละประเภทให้ถูกต้องตามถังแยกประเภทขยะ ดังนี้
           (1.1) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสมทุกจุด และรายงานผลการดำเนินการตามแผนเป็นรายไตรมาส
           ในการดำเนินการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักกฎหมายนั้น คณะทำงานหมวด 4 ได้เชิญพนักงานทำความสะอาดประจำสำนักกฎหมาย เข้าร่วมประชุมกับคณะทำงานฯ เมื่อวันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2565 เวลา 14.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุมสำนักกฎหมาย เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการจัดการของเสียของสำนักกฎหมาย และขอให้พนักงานทำความสะอาดประจำสำนักกฎหมาย เป็นผู้รวบรวมและคัดแยกขยะให้ถูกต้องโดยมีคณะทำงานฯ เป็นผู้ตรวจสอบการคัดแยกขยะให้ถูกต้องอย่างสม่ำเสมอ
          คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสมทุกจุด โดยจัดวางถังขยะตามประเภทขยะ 5 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์ หรือขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะติดเชื้อไว้บริเวณใกล้เคียงกับจุดล้างภาชนะที่ห้องเตรียมอาหาร (Pantry) ของสำนักกฎหมาย รวมทั้งได้จัดวางถังเพิ่มเติมบริเวณพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักกฎหมาย จำนวน 2 แห่ง กล่าวคือ 1) บริเวณหน้าห้องน้ำ ได้จัดวางถังขยะ 2 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป และขยะรีไซเคิล และ 2) บริเวณห้องเตรียมอาหาร (Pantry) ใกล้ห้องน้ำ
ได้จัดวางถังขยะสำหรับทิ้งขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก
          นอกจากนี้ ได้จัดวางถังขยะทั่วไป กล่องคัดแยกกระดาษ
นำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) และกล่องรวมกระดาษเสียก่อนจำหน่าย ตามพื้นที่ทำงานของกลุ่มงานต่าง ๆ ตลอดจนจัดวางกล่องคัดแยกถุงพลาสติก/ถุงกระดาษนำไปบริจาค และกล่องคัดแยกขวดพลาสติกนำไปบริจาคไว้บริเวณกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักกฎหมาย 

           (1.2) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้อง และชัดเจนทุกถัง รวมทั้งรายงานผลการดำเนินการตามแผนเป็นรายไตรมาส
           คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังตามจุดที่กำหนดให้มีการทิ้งขยะ/คัดแยกขยะ ตามประเภทขยะ 5 ประเภท ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะอินทรีย์หรือขยะเปียก ขยะรีไซเคิล ขยะอันตราย และขยะติดเชื้อ รวมทั้งได้จัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์และบ่งชี้ประเภทขยะแต่ละประเภทอย่างชัดเจน เพื่อให้บุคลากรของสำนักกฎหมายสามารถคัดแยกและทิ้งลงถังขยะได้อย่างถูกต้องตามประเภทขยะ 
            ทั้งนี้ ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม
ไตรมาส 1 เอกสารหมายเลข 2 รูปภาพการคัดแยก รวบรวม การจัดการขยะ และการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะ
ไตรมาส 2 เอกสารหมายเลข 2 รูปภาพการคัดแยก รวบรวม การจัดการขยะ และการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะ

ไตรมาส 3 เอกสารหมายเลข 2 รูปภาพการคัดแยก รวบรวม การจัดการขยะ และการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะ
           (1.3) จัดทำตารางการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือน และรายงานผลการดำเนินการตามแผนเป็นรายเดือน 
           ไตรมาส 1 คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการจัดทำตารางการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือน โดยดำเนินการสุ่มตรวจการทิ้งขยะทุกจุดที่มีการจัดวางถังขยะ/จุดคัดแยกขยะเป็นประจำทุกสัปดาห์ และจัดทำรายงานผลการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือนเสนอต่อผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย ทั้งนี้ จากการสุ่มตรวจการทิ้งขยะ พบว่า ในช่วงสัปดาห์แรกยังมีการทิ้งขยะไม่ถูกต้องตามประเภทขยะ เช่น ทิ้งขวดน้ำพลาสติกหรือแก้วน้ำพลาสติกโดยไม่เทน้ำหรือน้ำแข็งที่เหลือออกให้หมดก่อนทิ้งลงถังขยะรีไซเคิล และทิ้งกล่องอาหารโดยไม่เทเศษอาหารที่เหลือลงในถังขยะเปียกหรือขยะอินทรีย์ก่อนทิ้งลงถังขยะทั่วไป แต่ภายหลังจากที่ได้มีการส่งเสริมและรณรงค์การคัดแยกขยะ และทิ้งขยะให้ถูกต้องตามประเภทขยะแล้ว พบว่า มีการทิ้งขยะได้ถูกต้องตามประเภทขยะมากขึ้น โดยยังมีการทิ้งขยะไม่ถูกต้อง ประมาณร้อยละ 10 เท่านั้น ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมายเลข 3 เอกสารการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือน และรูปภาพแสดงการสุ่มตรวจการทิ้งขยะ
          ไตรมาส 2 คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการจัดทำตารางการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือน โดยดำเนินการสุ่มตรวจการทิ้งขยะทุกจุดที่มีการจัดวางถังขยะ/จุดคัดแยกขยะเป็นประจำทุกสัปดาห์ และจัดทำรายงานผลการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือนเสนอต่อผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย ทั้งนี้ จากการสุ่มตรวจการทิ้งขยะ พบว่า ภายหลังจากที่คณะทำงานฯ ได้มีการส่งเสริมและรณรงค์ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ของสำนักกฎหมายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์และบ่งชี้ประเภทขยะแต่ละประเภทแล้ว บุคลากรของสำนักกฎหมายมีการคัดแยกขยะและทิ้งขยะถูกต้องตามประเภทขยะมากขึ้น แต่ยังมีการทิ้งขยะไม่ถูกต้องตามประเภทขยะในปริมาณน้อย ประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น เช่น ทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในถังขยะอันตราย ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมายเลข 3 เอกสารการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2566 และรูปภาพแสดงการสุ่มตรวจการทิ้งขยะ
เอกสารหมายเลข 3 เอกสารการสุ่มตรวจการทิ้งขยะ ประจำเดือมกราคม 2566 ถึงเดือนมีนาคม 2566
เอกสารหมายเลข 3 รูปภาพแสดงการสุ่มตรวจการทิ้งขยะ  

          ไตรมาส 3 คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการจัดทำตารางการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือน โดยดำเนินการสุ่มตรวจการทิ้งขยะทุกจุดที่มีการจัดวางถังขยะ/จุดคัดแยกขยะเป็นประจำทุกสัปดาห์ และจัดทำรายงานผลการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือนเสนอต่อผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย ทั้งนี้ จากการสุ่มตรวจการทิ้งขยะ พบว่า ภายหลังจากที่คณะทำงานฯ ได้มีการส่งเสริมและรณรงค์ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ของสำนักกฎหมายอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งจัดบอร์ดประชาสัมพันธ์และบ่งชี้ประเภทขยะแต่ละประเภทแล้ว บุคลากรของสำนักกฎหมายมีการคัดแยกขยะและทิ้งขยะถูกต้องตามประเภทขยะมากขึ้น แต่ยังมีการทิ้งขยะไม่ถูกต้องตามประเภทขยะในปริมาณน้อย ประมาณร้อยละ 5 เท่านั้น เช่น ทิ้งหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วในถังขยะอันตราย ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมายเลข 3 เอกสารการสุ่มตรวจการทิ้งขยะประจำเดือนเมษายน 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 และรูปภาพแสดงการสุ่มตรวจการทิ้งขยะ
เอกสารหมายเลข 3 รูปภาพแสดงการสุ่มตรวจการทิ้งขยะ
       (1.4) จัดทำเส้นทางการจัดการขยะและรายงานผลการดำเนินการตามแผนเป็นรายไตรมาส
            เมื่อพนักงานทำความสะอาดประจำสำนักกฎหมายได้คัดแยกขยะแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของสำนักกฎหมายในเบื้องต้นแล้ว จะรวบรวมขยะทั้ง 5 ประเภท เพื่อนำไปรวมกันที่จุดทิ้งขยะรวม ณ บริเวณลานจอดรถชั้นใต้ดิน B1 ฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา และจะมีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะอีกครั้ง โดยจะมีรถจัดเก็บขยะของสำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เข้ามาจัดเก็บขยะในเวลาประมาณเวลา 05.00 นาฬิกา เป็นประจำทุกวัน ทั้งนี้ สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร จะนำขยะแต่ละประเภทไปกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป
            สำหรับขยะรีไซเคิล เช่น ขวดน้ำพลาสติก ถุงพลาสติก
และถุงกระดาษ สำนักกฎหมายได้คัดแยก และรวบรวมเก็บไว้ที่จุดพักขยะ ณ ห้องเก็บพัสดุ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักกฎหมาย เพื่อนำไปบริจาคตามโครงการต่าง ๆ ของสำนักกฎหมาย
รวมทั้งได้นำกระดาษลัง เศษกระดาษ เศษวัสดุเหลือใช้ เปลือกกระดาษ A4 และขวดน้ำพลาสติกมาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้ห่อกล่องกระดาษ ทำกระถางปลูกต้นไม้ ทำกล่องรับบริจาคถุงพลาสติก
ถุงกระดาษ และขวดพลาสติก ทำกล่องคัดแยกกระดาษนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) กล่องรวมกระดาษเสียก่อนจำหน่าย กล่องรับข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม ป้ายประชาสัมพันธ์ และสมุดฉีก
 รวมทั้งนำกล่องกระดาษเหลือใช้มาจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์และบ่งชี้ประเภทขยะ
           ทั้งนี้ ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3  เอกสารหมายเลข 4 เส้นทางการจัดการขยะและขยะรีไซเคิล 
      (2) ส่งเสริมและรณรงค์การคัดแยกขยะในการทิ้งให้ถูกต้องตามประเภท ดังนี้
       คณะทำงานฯ ได้ส่งเสริมและรณรงค์การคัดแยกขยะในการทิ้งให้ถูกต้องตามประเภท โดยจัดทำอินโฟกราฟิก และคลิปวิดีโอ เพื่อสื่อสาร สร้างจิตสำนึก และสร้างความร่วมมือให้บุคลากรของสำนักกฎหมายดำเนินการคัดแยกขยะและทิ้งขยะให้ถูกต้องตามถังขยะแต่ละประเภท ดังนี้
           (2.1) ถังขยะใช้ทิ้งขยะทั่วไปขยะที่ย่อยสลายยากนำไปรีไซเคิลไม่ได้เช่น ถุงพลาสติก และกล่องโฟม
           (2.2) ถังขยะใช้ทิ้งขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลใช้ใหม่ได้ เช่น แก้ว เศษกระดาษ ขวดน้ำ และพลาสติก
           (2.3) ถังขยะใช้ทิ้งขยะที่ย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ เช่น เศษผัก เปลือกผลไม้ และเศษอาหาร
           (2.4) ถังขยะใช้ทิ้งขยะอันตราย เช่น ถ่านอัลคาไลน์ แบตเตอรรี่หมดอายุ
           (2.5) ถังขยะใช้สำหรับใส่ขยะติดเชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย ชุดตรวจ ATK และกระดาษทิชชูที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง
           โดยเผยแพร่อินโฟกราฟิก และคลิปวิดีโอดังกล่าว ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ และเพจของสำนักกฎหมาย เป็นประจำสม่ำเสมอ ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม

ไตรมาส 1 เอกสารหมายเลข 5 รูปภาพการส่งเสริมและรณรงค์การคัดแยกขยะ
ไตรมาส 2 เอกสารหมายเลข 5 รูปภาพการส่งเสริมและรณรงค์การคัดแยกขยะ
ไตรมาส 3 เอกสารหมายเลข 5 รูปภาพการส่งเสริมและรณรงค์การคัดแยกขยะ
      (3) ส่งเสริมและรณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก 
       คณะทำงานฯ ได้จัดทำอินโฟกราฟิก เพื่อส่งเสริมและรณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก โดยเผยแพร่ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ และเพจของสำนักกฎหมาย เป็นประจำสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม

ไตรมาส 1 เอกสารหมายเลข 6 รูปภาพการส่งเสริมและรณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก
ไตรมาส 2 เอกสารหมายเลข 6 รูปภาพการส่งเสริมและรณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก
ไตรมาส 3 เอกสารหมายเลข 6 รูปภาพการส่งเสริมและรณรงค์การใช้ถุงผ้าแทนการใช้ถุงพลาสติก
      (4) ส่งเสริมและรณรงค์การใช้กล่องข้าว หรือปิ่นโตแทนการใช้กล่องโฟม 
       คณะทำงานฯ ได้จัดทำอินโฟกราฟิก เพื่อส่งเสริมและรณรงค์การใช้กล่องข้าวหรือปิ่นโตแทนการใช้กล่องโฟม โดยเผยแพร่ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ และเพจของสำนักกฎหมายเป็นประจำสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมายเลข 6 รูปภาพการส่งเสริมและรณรงค์การใช้กล่องข้าวหรือปิ่นโตแทนการใช้กล่องโฟม

      (5) ส่งเสริมและรณรงค์การใช้แก้วน้ำสแตนเลสแทนแก้วน้ำพลาสติก
      คณะทำงานฯ ได้จัดทำอินโฟกราฟิก เพื่อส่งเสริมและรณรงค์การใช้แก้วน้ำสแตนเลสแทนแก้วน้ำพลาสติก โดยเผยแพร่ผ่านทางแอปพลิเคชันไลน์ และเพจของสำนักกฎหมายเป็นประจำสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมายเลข 6 รูปภาพการส่งเสริมและรณรงค์การใช้แก้วน้ำสแตนเลสแทนแก้วน้ำพลาสติก

      (6) ตรวจสอบการเผาขยะในพื้นที่สำนักกฎหมาย
       จากการดำเนินการตรวจการทิ้งขยะทุกจุดที่มีการจัดวางถังขยะ/จุดคัดแยกขยะภายในสำนักกฎหมายเป็นประจำทุกสัปดาห์ พบว่า ไม่มีการเผาขยะในพื้นที่ของสำนักกฎหมายแต่อย่างใด

      (7) มีจุดพักขยะที่เหมาะสม
ภายหลังจากที่พนักงานทำความสะอาดประจำสำนักกฎหมายได้รวบรวมขยะของสำนักกฎหมายที่ได้คัดแยกเรียบร้อยแล้ว จะนำขยะดังกล่าวไปไว้ที่จุดพักขยะ บริเวณลาดจอดรถชั้นใต้ดิน B1 ฝั่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อรอให้ฝ่ายรักษาความสะอาดและสวนสาธารณะ สำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เข้ามาดำเนินการจัดเก็บขยะ ส่วนขยะประเภทถุงพลาสติก ถุงกระดาษ และขวดพลาสติกที่ได้มีการคัดแยกไว้เพื่อนำไปบริจาคนั้น ได้มีการนำไปไว้ที่ห้องเก็บพัสดุของกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักกฎหมาย เพื่อรอนำไปบริจาคตามโครงการของสำนักกฎหมายต่อไป ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม 

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 เอกสารหมายเลข 7 รูปภาพจุดพักขยะรอบริจาค
ไตรมาส 3 เอกสารหมายเลข 7 รูปภาพจุดพักขยะรอบริจาค

4.1.2 นำขยะกลับมาใช้แล้ว/นำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งจะต้องกำจัดทิ้งให้น้อยลง 

     (1) อนุญาตให้ขยะกลับมาใช้ใหม่
     (2) กำหนดให้มีปริมาณตามแต่ละประเภทอย่างครบถ้วน
     (3) มีปริมาณขยะเทียบได้กับค่าที่เป้าหมายกำหนดจากหมวด 1 
     (4) ปริมาณที่ส่งกำจัดมี เป็นไปตามนั้น

4.1.2 การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์/นำกลับมาใช้ใหม่ ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง 
         (1) มีนวัตกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ในการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
              บุคลากรของสำนักกฎหมายได้นำขยะกลับมาใช้ประโยชน์/นำกลับมาใช้ใหม่ โดยคัดแยกขยะประเภทถุงพลาสติก ถุงกระดาษ และขวดพลาสติกไว้ที่จุดรับบริจาคของกลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักกฎหมาย และถังขยะรีไซเคิล บริเวณห้องเตรียมอาหาร (Pantry) เพื่อนำไปบริจาคตามโครงการต่าง ๆ ของสำนักกฎหมาย ได้แก่ 1) โครงการ PRECIOUS PLASTIC โดยนำขวดพลาสติกและฝาขวดไปบริจาคให้แก่วัดแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อทำเป็นผ้าจีวร กระถาง และแจกัน และ 2) โครงการบิณฑบาตถุงพลาสติกเพื่อนำไปแปรรูปเป็นน้ำมันเพื่อใช้เผาศพไร้ญาติ
             นอกจากนี้ ได้นำกล่องกระดาษเหลือใช้ มาประดิษฐ์เป็นกล่องรับบริจาคถุงพลาสติก ถุงกระดาษ และขวดพลาสติก กล่องคัดแยกกระดาษนำกลับมาใช้ใหม่ (Reuse) กล่องรวมกระดาษเสียก่อนจำหน่าย กล่องรับข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้ง
ได้นำเศษกระดาษ วัสดุเหลือใช้ และเปลือกกระดาษ A4 มาใช้ห่อกล่องกระดาษ ทำป้ายประชาสัมพันธ์แบบตั้งโต๊ะ และสมุดฉีก ตลอดจนได้มีการนำขวดน้ำพลาสติกที่ไม่ใช้แล้วมาทำเป็นกระถางปลูกต้นไม้ นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้นำกล่องกระดาษ A4 มาจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์และบ่งชี้ประเภทขยะ

             ทั้งนี้ ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม 
ไตรมาส 1 เอกสารหมายเลข 8 รูปภาพนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
ไตรมาส 2 เอกสารหมายเลข 8 รูปภาพนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
ไตรมาส 3 เอกสารหมายเลข 8 รูปภาพนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์
        (2) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทให้ครบถ้วนทุกเดือน
        ไตรมาส 1  คณะทำงานฯ ได้ขอให้พนักงานทำความสะอาดประจำสำนักกฎหมายเป็นผู้รับผิดชอบชั่งน้ำหนักขยะแต่ละประเภท และบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทในแต่ละวันอย่างครบถ้วน โดยคณะทำงานฯ เป็นผู้ดำเนินการบันทึกปริมาณขยะแต่ละประเภททั้งหมดในแต่ละเดือนอีกครั้ง โดยเริ่มดำเนินการบันทึกปริมาณตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม 
เอกสารหมายเลข 9 เอกสารการบันทึกปริมาณขยะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
         ไตรมาส 2  คณะทำงานฯ ได้ขอให้พนักงานทำความสะอาดประจำสำนักกฎหมายเป็นผู้รับผิดชอบชั่งน้ำหนักขยะแต่ละประเภท และบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทในแต่ละวันอย่างครบถ้วน และในเดือนมีนาคม 2566 ได้ขอให้พนักงานทำความสะอาดฯ บันทึกข้อมูลปริมาณขยะขยะรีไซเคิลที่สำนักกฎหมายไม่ได้นำไปบริจาค แต่ได้คัดแยกไว้เพื่อให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภานำไปดำเนินการต่อไปด้วย โดยคณะทำงานฯ เป็นผู้ดำเนินการบันทึกปริมาณขยะแต่ละประเภททั้งหมดในแต่ละเดือนอีกครั้ง นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้บันทึกข้อมูลปริมาณขยะประเภทกระดาษใช้แล้วที่เก็บไว้รอจำหน่ายเพิ่มเติม โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นมา ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม
เอกสารหมายเลข 9 เอกสารการบันทึกปริมาณขยะ ประปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
          ไตรมาส 3 คณะทำงานฯ ได้ขอให้พนักงานทำความสะอาดประจำสำนักกฎหมายเป็นผู้รับผิดชอบชั่งน้ำหนักขยะแต่ละประเภท และบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทในแต่ละวันอย่างครบถ้วน และในเดือนมีนาคม 2566 ได้ขอให้พนักงานทำความสะอาดฯ บันทึกข้อมูลปริมาณขยะขยะรีไซเคิลที่สำนักกฎหมายไม่ได้นำไปบริจาค แต่ได้คัดแยกไว้เพื่อให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภานำไปดำเนินการต่อไปด้วย โดยคณะทำงานฯ เป็นผู้ดำเนินการบันทึกปริมาณขยะแต่ละประเภททั้งหมดในแต่ละเดือนอีกครั้ง นอกจากนี้ คณะทำงานฯ ได้บันทึกข้อมูลปริมาณขยะประเภทกระดาษใช้แล้วที่เก็บไว้รอจำหน่ายเพิ่มเติม โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนมกราคม 2566 เป็นต้นมา ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม
เอกสารหมายเลข 9 เอกสารการบันทึกปริมาณขยะ ประปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

4.2 การจัดการน้ำเสีย

4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงานและคุณภาพน้ำทิ้งในกรณีที่อยู่ในมาตรฐานที่กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหารและไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
(2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียหรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
(3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
(4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่น ๆ

4.2.1 การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง จะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

(1) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียทีจุดล้างภาชนะอย่างเหมาะสม
        คณะทำงานฯ ได้กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการระบบบำบัดน้ำเสียที่จุดล้างภาชนะอย่างเหมาะสม เพื่อดำเนินการตามแผนการดำเนินการจัดการของเสียฯ อย่างชัดเจน โดยดำเนินการตรวจสอบบริเวณที่จุดล้างภาชนะที่ห้องเตรียมอาหาร (Pantry)
ของสำนักกฎหมายเป็นประจำทุกวัน และจากการตรวจสอบไม่พบปัญหาเกี่ยวกับน้ำเสียและน้ำทิ้งบริเวณดังกล่าวแต่อย่างใด
ดังมีรายละเอียดปรากฏตามเอกสารหมายเลข 1 แผนการดำเนินการขับเคลื่อนสู่สำนักงานสีเขียว (Green Office) หมวด 4 การจัดการของเสีย ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2566 ของสำนักกฎหมาย
 (2) มีการบำบัดน้ำเสียที่จุดล้างภาชนะอย่างเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด เช่น มีตะแกรงดักเศษอาหาร และมีอุปกรณ์รองรับน้ำเสีย
        
ไตรมาส 1 คณะทำงานฯ ได้นำตะแกรงดักเศษอาหารมาวางไว้บริเวณจุดล้างภาชนะและนำถังรองรับน้ำเสียวางไว้ใต้ท่อระบายน้ำเสียที่จุดล้างภาชนะ เพื่อรองรับน้ำเสียหากมีการรั่วไหลของน้ำเสียที่จุดล้างภาชนะเกิดขึ้น ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม
เอกสารหมายเลข 10 รูปภาพตะแกรงดักเศษอาหาร และอุปกรณ์รองรับน้ำเสีย
       ไตรมาส 2 คณะทำงานฯ ได้นำตะแกรงดักเศษอาหารมาวางไว้บริเวณจุดล้างภาชนะ และเจ้าหน้าที่ของกลุ่มงานอาคารสถานที่ สำนักบริหารงานกลาง ได้ดำเนินการติดตั้งถังดักไขมันไว้
ที่จุดล้างภาชนะที่ห้องเตรียมอาหาร (Pantry) ของสำนักกฎหมายและบริเวณห้องเตรียมอาหาร (Pantry) ใกล้ห้องน้ำ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักกฎหมาย เรียบร้อยแล้ว โดยอุปกรณ์ดังกล่าว
จะช่วยดักไขมันและเป็นการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นบริเวณจุดล้างภาชนะให้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม

เอกสารหมายเลข 10 รูปภาพตะแกรงดักเศษอาหาร และอุปกรณ์รองรับน้ำเสีย
          ไตรมาส 3 คณะทำงานฯ ได้นำตะแกรงดักเศษอาหารมาวางไว้บริเวณจุดล้างภาชนะ และเจ้าหน้าที่ของกลุ่มงานอาคารสถานที่ สำนักบริหารงานกลาง ได้ดำเนินการติดตั้งถังดักไขมันไว้
ที่จุดล้างภาชนะที่ห้องเตรียมอาหาร (Pantry) ของสำนักกฎหมายและบริเวณห้องเตรียมอาหาร (Pantry) ใกล้ห้องน้ำ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักกฎหมาย เรียบร้อยแล้ว โดยอุปกรณ์ดังกล่าว
จะช่วยดักไขมันและเป็นการบำบัดน้ำเสียที่เกิดขึ้นบริเวณจุดล้างภาชนะให้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม
เอกสารหมายเลข 10 รูปภาพตะแกรงดักเศษอาหาร และอุปกรณ์รองรับน้ำเสีย

4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทาง ดังนี้

(1) คณะทำงานที่รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และอย่าลืมในการดูแล
(2) สิ่งที่ต้องทำที่จำเป็น เช่น มีสิ่งที่ต้องทำ เช่น มีดักเศษอาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือระบบบำบัดน้ำที่เสียจากน้ำ เสีย
(3) อย่าลืมทำสิ่งที่ต้องมีในกรณีที่น้ำเสีย
(4) ปล่อยให้คุณภาพน้ำทิ้งตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ตามที่กฎหมายกำหนด

4.2.2 การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย
        (1) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาด
เศษอาหาร และไขมันออกจากตะแกรงดักขยะที่จุดล้างภาชนะอย่างเหมาะสม
        (2) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสีย หรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/จุดล้างภาชนะไปกำจัดอย่างถูกต้อง
        (3) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียที่จุดล้างภาชนะให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
        (4) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียที่จุดล้างภาชนะอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่น ๆ
        คณะทำงานฯ ได้ดำเนินการตักและทำความสะอาดเศษอาหารออกจากตะแกรงดักขยะที่จุดล้างภาชนะ และได้มีการนำเศษอาหารดังกล่าวไปกำจัดอย่างถูกต้องเป็นประจำทุกวัน รวมทั้งได้ดำเนินการตรวจสอบจุดล้างภาชนะ ตลอดจนมีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียที่จุดล้างภาชนะเป็นประจำทุกวัน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่น ๆ ทั้งนี้
จากการตรวจสอบ พบว่า จุดล้างภาชนะยังใช้งานได้ตามปกติ มีประสิทธิภาพ และไม่มีการรั่วไหลของน้ำเสียแต่อย่างใด ดังมีรายละเอียดปรากฏตาม

ไตรมาส 1 เอกสารหมายเลข 11 รูปภาพการดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย
ไตรมาส 2 เอกสารหมายเลข 11 รูปภาพการดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย
ไตรมาส 3 เอกสารหมายเลข 11 รูปภาพการดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย