• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
 
 
 
 
 
 

Green Office

หมวด 5
สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

หมวด/ตัวชี้วัด หลักฐาน/เอกสารอ้างอิงการตรวจประเมิน  

5.1 อากาศในสำนักงาน

 

5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักการพิมพ์

(1) มีแผนการดูแลบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ
      เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) 
      พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)

(2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามแผนการดูแล
      บำรุงรักษา


(3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดใน ข้อ 1





(4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1




(5) การจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร (Printer) 
     ให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน


(6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น
     ติดป้ายดับเครื่องยนต์


(7) การป้องกันอันตรายจากการพ่นยากำจัดแมลง (ถ้ามี)




(8) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศ
     จากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเตรียมความพร้อม
     และระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสาร
     หรือภาพถ่ายเป็นหลักฐานประกอบ)








 

5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน

(1) สำนักการพิมพ์ได้จัดทำแผนบำรุงรักษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


(2) สำนักการพิมพ์มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามแผน
การดูแลบำรุงรักษา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(3) สำนักการพิมพ์ มีผลการปฏิบัติตามแผนบำรุงรักษา ได้แก่ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์ออฟเซต เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) เครื่องปรับอากาศ การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


(4) สำนักการพิมพ์ได้จัดทำมาตรการ (หมวด 5) สภาพแวดล้อมและ
ความปลอดภัย
เพื่อการควบคุมมลพิษทางอากาศ เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


(5) สำนักการพิมพ์มีการจัดวางเครื่องพิมพ์เอกสาร เครื่องถ่ายเอกสาร (Printer) ให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(6) สำนักการพิมพ์ ได้จัดทำป้ายดับเครื่องยนต์ขณะจอดรถที่ลานจอด
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


(7) สำนักบริหารงานกลาง ดำเนินการพ่นหมอกควันกำจัดยุง ณ สำนักการพิมพ์  วันเสาร์ที่ 11 พ.ย. 2566 เรียบร้อยแล้ว


(8) การสื่อสารให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการเตรียมความพร้อม
    (8.1) สำนักการพิมพ์ได้จัดทำมาตรการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและลดผลกระทบ จากกิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรในการปฏิบัติงานที่อาจก่อมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
    (8.2) สำนักการพิมพ์ ได้ดำเนินการจัดทำประกาศสำนักการพิมพ์
เรื่อง มาตรการการลดใช้พลังงาน ทรัพยากร และการควบคุมมลพิษทางอากาศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เรียบร้อยแล้ว

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
   (8.3) สำนักการพิมพ์ ได้จัดทำประกาศสำนักการพิมพ์ เรื่อง มาตรการควบคุมการปฏิบัติงานของผู้ค้าขาย ผู้รับจ้าง ด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของสำนักการพิมพ์ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 เรียบร้อยแล้ว

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง



 

 

5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด

(1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่




(2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่





(3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
(4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน
      รำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณ
      ทางเข้า – ออกของสถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของ
      ผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็น
      ได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น

(5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่

 

5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด

(1) สำนักการพิมพ์ได้ดำเนินการจัดทำบอร์ดประชาสัมพันธ์รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ ณ บริเวณสำนักการพิมพ์ ชั้น B1 เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(2) สำนักการพิมพ์ได้ดำเนินการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ในสำนักการพิมพ์ทุกพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นเขตปลอดบุหรี่ หากฝ่าฝืนมีโทษตามที่กฎหมายกำหนด
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


(3 - 4 ) สำนักการพิมพ์ได้ดำเนินการกำหนดจุดสูบบุหรี่แยกจากตัวอาคารปฏิบัติงาน ณ บริเวณด้านข้างอาคาร สำนักการพิมพ์ ชั้น B1
อาคารรัฐสภา โดยเป็นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2560 มาตรา 44 เรียบร้อยแล้ว

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


(5) สำนักการพิมพ์มีการตรวจสอบพื้นที่นอกเขตสูบบุหรี่ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
และได้จัดทำรายงานตารางการตรวจสอบไม่มีก้นบุหรี่ถูกทิ้งอยู่
นอกพื้นที่เขตสูบบุหรี่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ผลปรากฏว่า ไม่พบก้นบุหรี่ถูกทิ้งอยู่นอกพื้นที่เขตสูบบุหรี่สำนักการพิมพ์

 

5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักการพิมพ์ที่ส่งผลต่อบุคลากร

(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการ มลพิษทางอากาศ
     จากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร



(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ (1)  
      แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
      - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
      - มีที่กั้นเพื่อป้องกันมลพิษทางอากาศที่ จะส่งผลกระทบ
        กับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
      - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

 

5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน

(1) สำนักการพิมพ์ได้ดำเนินการจัดทำประกาศ สำนักการพิมพ์
เรื่อง มาตรการป้องกันและรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง เรียบร้อยแล้ว

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(2) สำนักการพิมพ์ได้ดำเนินการจัดทำประกาศ สำนักการพิมพ์
เรื่อง มาตรการป้องกันและรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง เรียบร้อยแล้ว

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

 

 

5.2 แสงในสำนักงาน

 

5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด

(1) มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างประจำปี พร้อมแสดง
     หลักฐานผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง
     เฉพาะจุดทำงานและพื้นที่ทำงาน




(2) เครื่องวัดความเข้มของแสงสว่าง จะต้องมีมาตรฐานและ
     ได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)



(3) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
(4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง จะต้องเป็นไปตามที่
     กฎหมายกำหนด

 

5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด

(1) สำนักการพิมพ์ มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง โดยทีมตรวจวัดแสงจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งรายงานผลการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ภายในสำนักการพิมพ์ ปรากฏว่า ค่าความเข้มของแสงสว่างไม่ผ่านมาตรฐาน 3 พื้นที่ เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


(2) สำนักการพิมพ์ ได้ทำการแก้ไขปัญหาเรื่องแสงสว่างเบื้องต้นโดยการติดตั้งโคมไฟส่องสว่างในจุดที่แสงสว่างไม่เพียงพอ
เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2566 และตรวจวัดค่าแสงผ่านทุกพื้นที่
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง 

(3-4) ข้อมูลประวัติ ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มของแสงสว่างตามที่กฎหมายกำหนด
- อาจารย์พฤทธิ์เลิศ บุญเลิศ



 

 

5.3 เสียง

 

5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักการพิมพ์

(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดัง
      ที่มาจากภายในสำนักงาน
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดัง
     ที่มาจากภายในสำนักงาน

 

5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน

(1-2) สำนักการพิมพ์ มีการตรวจวัดเสียง โดยทีมตรวจจากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลปรากฏว่า มีค่าเสียง อยู่ในระดับปกติ ไม่พบอันตรายจากเสียงดังต่อผู้ปฏิบัติงานในสำนักการพิมพ์ และมีรายงานผลการตรวจวัดเสียงภายในสำนักการพิมพ์ เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


 

 

5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดัง ที่เกิดจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
 2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดใน ข้อ 1
      แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
    - มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
    - มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือนเพื่อการเตรียมความพร้อม และระวังการได้รับอันตราย

 


5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
      (1-2) สำนักการพิมพ์ได้ดำเนินการจัดทำประกาศ สำนักการพิมพ์

เรื่อง มาตรการป้องกันและรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง



 

 

5.4 ความน่าอยู่

 

5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของสำนักการพิมพ์โดยจะต้องดำเนินการดังนี้

(1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและนอกอาคาร
      โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน
      เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวม
      และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสาร
      ด้วยป้ายหรืออื่น ๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้

(2) มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบอย่างเหมาะสม
     ทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป ทั้งภายในอาคาร
      และนอกอาคาร


(3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาด และ
      ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ทั้งพื้นที่เฉพาะ และพื้นที่ทั่วไป
     ทั้งภายในอาคารและนอกอาคาร









(4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้
     ของสำนักงาน รวมไปถึงมีการปฏิบัติจริงตามแผนงาน

 

5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของ สำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
         
(1) สำนักการพิมพ์ ได้ดำเนินการจัดทำแผนผังสำนักการพิมพ์ และแผนผังเพิ่มพื้นที่สีเขียว เรียบร้อยแล้ว

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


(2) สำนักการพิมพ์ได้จัดทำแผนการดูแลพื้นที่กิจกรรม 5 ส
ของสำนักการพิมพ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีการติดป้ายชื่อห้องและแบ่งพื้นที่ใช้สอยอย่างชัดเจน เรียบร้อยแล้ว

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(3.1) สำนักการพิมพ์ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม Big Cleaning Day” ครั้งที่ 1-2 ประจำปีงบประมาณ 2566 เรียบร้อยแล้ว 
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
(3.2) สำนักการพิมพ์ได้ดำเนินการจัดกิจกรรม 5 ส ภายในสำนักการพิมพ์ตามมาตรการ (หมวด 5) สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
โดยมีการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมประจำเดือน

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
- ธ.ค. 2565  - ม.ค. 2566  - ก.พ. 2566  - มี.ค. 2566  
- เม.ย. 2566  - พ.ค. 2566  - มิ.ย. 2566  - ก.ค. 2566

- ส.ค. 2566  - ก.ย. 2566 - ต.ค. 2566 - พ.ย. 2566 
- ธ.ค. 2566



(4.1) สำนักการพิมพ์ได้ดำเนินการจัดทำแผนการตรวจดูแลพื้นที่สีเขียวและมุมพักผ่อน และการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(4.2) สำนักการพิมพ์ ดำเนินการตามแผนการตรวจดูแลพื้นที่สีเขียวและมุมพักผ่อน และการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการรายงานผล
การปฏิบัติรายเดือน ดังนี้
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
- ต.ค.2565   - พ.ย. 2565  - ธ.ค.2565  - ม.ค. 2566
- ก.พ. 2566  - มี.ค. 2566  - เม.ย.2566 - พ.ค.2566
- มิ.ย. 2566  - ก.ค. 2566  - ส.ค. 2566 - ก.ย.2566
- ต.ค. 2566 - พ.ย. 2566  - ธ.ค. 2566
(4.3) สำนักการพิมพ์ ดำเนินการจัดทำกิจกรรมเตยหอมสร้างสุข
เพื่อสร้างความน่าอยู่ในสำนักการพิมพ์ โดยมีการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรมรายเดือน ดังนี้
- ต.ค. 2565   - พ.ย. 2565    - ธ.ค. 2565   - ม.ค. 2566 
- ก.พ. 2566    - มี.ค. 2566   - เม.ย. 2566  - พ.ค. 2566

- มิ.ย. 2566    - ก.ค. 2566   - ส.ค. 2566  - ก.ย. 2566
- ต.ค. 2566   - พ.ย. 2566  - ธ.ค. 2566


 

 

5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักการพิมพ์กำหนด

การใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักการพิมพ์กำหนด

5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด

สำนักการพิมพ์มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักการพิมพ์กำหนดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คิดเป็นร้อยละ 100
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

 

5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
     
-  
ดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ
        พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น


 

5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

- สำนักการพิมพ์มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการดูแลและตรวจสอบการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงานของสำนักการพิมพ์ทุกเดือน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คิดเป็นร้อยละ 100
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

 

5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด ดังนี้

(1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกัน สัตว์พาหะนำโรค
     ในสำนักงานอย่าง เหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ
      และอื่น ๆ


(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
     อย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง




(3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด
     (เฉพาะตอนกลางวัน)







(4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการ เมื่อพบร่องรอยสัตว์
     พาหะนำโรค



(5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์พาหะนำโรค ในระหว่างการตรวจ
      ประเมิน

 

5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด

(1) สำนักการพิมพ์ได้จัดทำแนวทางการป้องกันและการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค (นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่น ๆ) เรียบร้อย
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(2) สำนักการพิมพ์ ได้ดำเนินการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(3) สำนักการพิมพ์มีการบันทึกผลการตรวจร่องรอยของสัตว์พาหะ
นำโรค (หนู แมลงสาบ นก และแมลงวัน) ทุกวันจันทร์และวันศุกร์ของทุกสัปดาห์ โดยมีหลักฐานการดำเนินการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

- ต.ค. - ธ.ค. 2565   - ม.ค. 2566   - ก.พ. 2566
- มี.ค. 2566    - เม.ย. 2566    - พ.ค. 2566  - มิ.ย. 2566
- ก.ค. 2566  - ส.ค. 2566  - ก.ย. 2566 - ต.ค. 2566
- พ.ย. 2566  - ธ.ค. 2566

(4) สำนักการพิมพ์ได้จัดทำแนวทางการป้องกันและการควบคุมสัตว์พาหะนำโรค (หนู แมลงสาบ นก และอื่น ๆ) เรียบร้อย
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(5) สำนักการพิมพ์
ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์พาหะนำโรค
ในระหว่างการตรวจ
ประเมิน
 

 

5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

 

5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ 

(1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ





(2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิง ขั้นต้นจะต้องไม่ต่ำกว่า
     ร้อยละ 40 ของพนักงานแต่ละแผนกหรือส่วนงาน





(3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อย
     ปีละ 1 ครั้ง (พิจารณาพนักงานหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคน
     ที่อยู่ประจำพื้นที่สำนักงานที่มีการฝึกซ้อมเท่านั้น)


(4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดง
     หลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรมภาพถ่าย เป็นต้น



(5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน
      เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น

(6) มีการกำหนดจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้าย
      แสดงอย่างชัดเจน
(7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำ ทางหนีไฟ ไปยังจุดรวมพล
      พร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
(8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดง
     อย่างชัดเจน

 

5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด
         (1) สำนักการพิมพ์ โดยคณะทำงานหมวด 2 การสื่อสารและ
สร้างจิตสำนึก ได้มีการจัดทำหลักสูตรและแผนการอบรม สำนักงานสีเขียว (
Green Office) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ของสำนักการพิมพ์ เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง 

         (2) 
บุคลากรของสำนักการพิมพ์ ได้เข้าร่วมโครงการซักซ้อมอพยพ
หนีไฟ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
2566 ตามแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยของสำนักงานเลขาเลขาธิการวุฒิสภา โดยทีมฝึกอบรมและระงับอัคคีภัยของบริษัทซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


         (3) บุคลากรของสำนักการพิมพ์ ได้เข้าร่วมการซักซ้อมอพยพหนีไฟเสมือนจริงโดยไม่แจ้งการปฏิบัติล่วงหน้าของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ครั้งที่ 1/2567 เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


         (4) สำนักการพิมพ์มีการรวบรวมข้อมูลบุคลากรเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมการอพยพหนีไฟ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


         (5) ภาพประกอบการอบรมและซ้อมอพยพหนีไฟของสำนักการพิมพ์
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

         (6-8) สำนักการพิมพ์ ได้จัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยได้กำหนดจุดรวมพลที่สามารถรองรับบุคลากรพร้อมป้ายแสดงอย่างชัดเจน ณ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา และมีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ การติดตั้งธงนำทางหนีไฟทุกห้อง
ซึ่งมีการกำหนดสีให้มีความแตกต่างกัน รวมถึงมีกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง (หน้า 2 – 5)
-  แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 

 

5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงาน
ที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
       
 -  มีการให้ความรู้เรื่องแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสมให้
กับบุคลากรให้มีความเข้าใจแผนฉุกเฉิน

5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

(1) สำนักการพิมพ์ มีการให้ความรู้เรื่องแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบัน ในการจัดกิจกรรม Green on tour ครั้งที่ 3/2566 เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


 

 

5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว
(สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

(1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
      - ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน
       (กำหนดระยะห่าง  อย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย
        ติดตั้งสูงจากพื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตรนับจากคันบีบ
        และถ้าเป็นวางกับพื้นจะต้องมีฐานรองรับ)
        พร้อมกับติดป้ายแสดง
      - ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
      - สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose
         Station) (ถ้ามี)
(2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
     - สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
    (พื้นที่มากกว่า 300 ตารางเมตร หรือ อาคารสูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
     - ติดตั้งตัวดักจับควัน (smoke detector) หรือตัวตรวจจับ
       ความร้อน (heat detector)
(3) มีการตรวจสอบข้อ (1) (2) และ หากพบว่าชำรุด
      จะต้องดำเนินการ แจ้งซ่อมและแก้ไข








(4) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้ และตรวจสอบอุปกรณ์
      ดับเพลิงและสัญญาณแจ้งเตือน
      อย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม



(5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณแจ้งเหตุ
      เพลิงไหม้

 

5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)

(1-2) สำนักการพิมพ์ ได้มีการจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีการจัดทำข้อมูลการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง การติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนซึ่งมีการระบุจุดติดตั้งและจำนวนถังดับเพลิงของสำนักการพิมพ์ เรียบร้อยแล้ว
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง (หน้า 16 – 20)










(3.1) สำนักการพิมพ์ ได้ดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัย และมีการรายงานผลการตรวจสอบ ผ่านระบบ Google forms
ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เป็นประจำทุกเดือน
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(3.2) สำนักการพิมพ์ มีการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงเดือนละ 1 ครั้ง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง


(4) สำนักการพิมพ์ ได้ดำเนินการสาธิตวิธีการใช้ถังดับเพลิงดึง ปลด กด ส่าย” เผยแพร่ให้บุคลากรผ่านสื่อ VDO ของสำนักป้องกัน
และบรรเทาสาธารณภัย กทม.ในกิจกรรม
Green on tour
ครั้งที่ 3/2566 เรียบร้อยแล้ว

หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง

(5) สำนักการพิมพ์ ได้ดำเนินการปรับปรุงพื้นที่โดยรอบจุดเก็บอุปกรณ์ดับเพลิง ทำการตีเส้นแดงกำหนดพื้นที่หวงห้ามเฉพาะห้ามวางสิ่งกีดขวางอย่างเด็ดขาด
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง