• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger

ข่าวสาร

 

การศึกษาดูงาน เรื่อง สถานการณ์แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 และการบูรณาการเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย ระหว่างวันศุกร์ที่ ๒๑ – วันเสาร์ที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๖๕ ณ จังหวัดเชียงราย

สรุปผลการรับฟังการบรรยายเกี่ยวกับสถานการณ์ทั่วไปด้านแรงงานและการบูรณาการส่งเสริมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุของส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ดังนี้ 
               สถานการณ์ปัญหาด้านแรงงานในพื้นที่จังหวัดเชียงราย สามารถสรุปได้ ๔ ปัญหาหลัก ประกอบด้วย
                    ๑. ปัญหาการว่างงาน เนื่องจากการจ้างงานส่วนใหญ่ในเชียงราย อยู่ในภาคการท่องเที่ยว และภาคเกษตร ซึ่งมีการจ้างงานระยะสั้นหรือจ้างแบบรายวันเฉพาะในช่วงฤดูกาลที่มีนักท่องเที่ยว หรือฤดูกาลเพาะปลูก ทำให้การจ้างงานไม่ต่อเนื่อง
                    ๒. ปัญหาการไม่เข้าถึงระบบสวัสดิการของรัฐของแรงงาน เนื่องจากแรงงานส่วนใหญ่ ส่งผลให้แรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้เข้าสู่ระบบประกันสังคม
                    ๓. ปัญหาแรงงานในพื้นที่ย้ายไปทำงานต่างถิ่น แบ่งเป็นแรงงาน ๒ กลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มแรงงานรุ่นใหม่ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จะย้ายถิ่นไปทำงานในพื้นที่อื่นของภาคเหนือซึ่งมีค่าจ้างที่สูงกว่า และมีประเภทงานตรงตามวุฒิการศึกษาที่จบมามากกว่า ในขณะที่พื้นที่จังหวัดเชียงรายมีข้อจำกัด กล่าวคือ อัตราค่าจ้างขึ้นต่ำอยู่ในระดับต่ำกว่าจังหวัดอื่นในพื้นที่ใกล้เคียง ไม่มีแหล่งงานรองรับนักศึกษาจบใหม่ในพื้นที่ (เช่น ไม่มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป็นต้น) กลุ่มที่สอง คือ แรงงานในจังหวัดส่วนใหญ่ที่มีภูมิลำเนาบนพื้นที่สูง มีค่านิยมไปทำงานต่างประเทศ เนื่องจากมีความถนัดด้านภาษา (จีน) และไม่จำกัดวุฒิการศึกษา
                    ๔. ปัญหาแรงงานต่างด้าวในพื้นที่จังหวัดเชียงรายมีพื้นที่ชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งประเทศเมียนมาและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมถึงมีเขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ (โครงการคิงส์โรมัน) ที่มีแรงงานชาวจีนเคลื่อนย้ายลงมาทำงานในพื้นที่นี้ ทำให้แรงงานต่างด้าวเดินทางข้ามแดนเข้ามาทำงานในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบางส่วนมีการพัฒนาสถานะการทำงานไปเป็นผู้ประกอบการเอง หรือรับเหมาช่วงงานจากคนไทยอีกต่อหนึ่ง ทำให้เกิดปัญหาการแย่งงานคนไทยที่กำลังทำงานในประเภทงานเดียวกัน เช่น เริ่มพบว่ามีแรงงานต่างด้าว/แรงงานจากราคาที่ต่ำกว่าคนไทยรับทำ เป็นต้น

               ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการจ้างงานแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ ส่งผลให้เกิดปัญหาสามารถรักษาการจ้างงานไว้ได้ เกิดการลอยแพแรงงานต่างด้าว ทำให้แรงงานต่างด้าวจำนวนมากไม่มีที่ยังดำเนินธุรกิจอยู่ต้องประสบกับปัญหาขาดแคลนแรงงาน อีกทั้งหากต้องการนำเข้าแรงงานจะต้องเสียค่าใช้จ่ายและมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่าเดิม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในพื้นนี้ต้องแก้ปัญหาโดยนำเข้าให้ทำงาน และออกเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI) เพียง ๕ แห่ง ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี เชียงใหม่ ระนอง สมุทรปราการ และสมุทรสาคร ทำให้ผู้ประกอบการต้องเสียเวลานำแรงงานต่างด้าวไปทำเอกสารในจุดที่ใกล้ที่สุดคือเชียงใหม่
               ผลจากมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ สำหรับในปี ๒๕๖๔ ประกอบไปด้วย ๕ มาตรการสำคัญ ได้แก่
                             (๑) มาตรการลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม อัตรานายจ้างร้อยละ ๒.๕ และลูกจ้างร้อยละ ๒.๕ มีนายจ้างที่ได้รับประโยชน์ ๖,๗๕๘ คน และลูกจ้าง ๗๑,๙๔๓ คน
                             (๒) มาตรการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย ๒,๒๕๒ ราย รวมเป็นเงิน ๘,๕๒๘,๓๖๙.๓๐ บาท                          
                             (๓) มาตรการจ่ายประโยชน์ทดแทนเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ กรณีเลิกจ้าง ลาออก สิ้นสุดสัญญาจ้าง จำนวน ๑๗,๖๐๒ ราย (ลาออก/สิ้นสุดสัญญาจ้าง ๑๓,๔๐๖ ราย และเลิกจ้าง ๔,๑๙๖ ราย) รวมเป็นเงิน ๒๑๔,๔๒๙,๓๒๓.๒๐ บาท
                             (๔) การช่วยเหลือผู้ประกอบการโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs โดยเปิดให้มีการลงเบียน ๒ รอบคือ รอบที่ ๑ (ตั้งแต่วันที่ ๒๐ ต.ค.-๒๐ พ.ย.) และรอบที่ ๒ (ตั้งแต่วันที่ ๒๓ พ.ย.-๒๐ ธ.ค.) มีผู้ประกอบการมาลงทะเบียนจำนวน ๓,๐๑๑ ราย หรือคิดเป็นร้อยละ ๗๒.๗๖ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ธุรกิจ SMEs ๔,๑๓๘ ราย) มีลูกจ้างได้รับประโยชน์จำนวน ๒๗,๘๒๐ คน หรือคิดเป็นร้อยละ ๘๘.๙๙ ของเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ลูกจ้างในธุรกิจ SMEs ๓๑,๒๖๓ คน)
                             (๕) การตรวจสถานประกอบกิจการกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๒๒ แห่ง ลูกจ้าง ๘๒๙ คน (ลูกจ้างต่างด้าว ๗๐๗ คน และลูกจ้างคนไทย ๑๕๔ คน) นอกจากนี้ มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานต่างด้าวและมาตรการแผนเผชิญเหตุและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-19) ให้แก่สถานประกอบการ
              มิติด้านการทำงานของแรงงานสูงอายุ จังหวัดเชียงรายมีผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานอยู่ ๘๙,๓๕๙ คน โดยเกือบทั้งหมด ร้อยละ ๙๕.๒๐ ทำงานนอกระบบ โดยเฉพาะอยู่ในภาคเกษตร และมีกลุ่มที่ทำงานในระบบเพียง ร้อยละ ๔.๘๐ เท่านั้น ทั้งนี้ ตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จังหวัดเชียงราย ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕ มีโครงการทั้งหมด จำนวน ๓๒ โครงการ แบ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวกับแรงงานสูงอายุ จำนวน ๑๑ โครงการ ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน ๑,๗๑๑ คน งบประมาณ ๓,๔๐๒,๕๐๐ บาท เป็นโครงการที่มุ่งเน้นเสริมสร้างหลักประกันทางสังคมและขยายความคุ้มครองให้กับกลุ่มแรงงานนอกระบบให้ทั่วถึง และการเสริมสมรรถนะแรงงานนอกระบบเพื่อการทำงาน นอกจากนี้ มีโครงการที่บูรณาการกับหน่วยงานภายนอกกระทรวง ได้แก่ โครงการขอรับการสนับสนุนจากกองทุนผู้สูงอายุ (เงินทุนประกอบอาชีพประเภทองค์กรและประเภทบุคคล) โครงการกู้เงินเพื่อการประกอบอาชีพคนพิการ (รายบุคคลในระบบปกติและฉุกเฉิน+รายกลุ่ม/ชมรม) โครงการจัดประชุมผู้ประกอบการเพื่อเสริมสร้างการจ้างงานแรงงานคนพิการตามกฎหมาย


การศึกษาดูงานโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
               ที่มาของการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุวัดหัวฝาย เนื่องด้วยสถานการณ์ผู้สูงอายุของจังหวัดเชียงรายที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในทุกมิติ ทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงรายจึงดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย บนฐานของการมีส่วนร่วมโดยเปิดเวทีแลกเปลี่ยนแกนนำผู้สูงอายุทั้ง ๑๘ อำเภอ ซึ่งจากกระบวนการและแนวคิดดังกล่าวทำให้เกิดโรงเรียนผู้สูงอายุนำร่องที่วัดหัวฝาย ตำบลสันกลาง อำเภอพาน โดยมีท่านพระครูปิยวรรณพิพัฒน์ เป็นผู้ก่อตั้งและดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนด้วย จากนั้นท่านพระครูยกระดับการดำเนินงานเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุไปครอบคลุมทั้ง ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ โดยในปี ๒๕๖๓ ได้จัดตั้งเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุ ๑๗ จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งมีท่านพระครูปิยวรรณพิพัฒน์ ประธานเครือข่ายเช่นเดียวกัน
               การดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมของเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย กรอบแนวคิดของการจัดตั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ คือ การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุมีคุณค่าและศักยภาพ ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีส่วนร่วมทำประโยชน์ให้สังคม และส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุ โดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้สูงอายุ สาระการเรียนรู้จะต้องทำให้ผู้สูงอายุสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิต สำหรับแนวทางในการขับเคลื่อนเครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน บนฐานของการ “ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมสร้าง” ยึดหลักคุณธรรม “อัตาหิ อัตโน นาโถ” หรือตนเป็นที่พึ่งแห่งตน และการไม่ทิ้งใครไว้เบื้องหลัง กล่าวคือ เน้นให้ผู้สูงอายุที่เข้ามาเรียนในโรงเรียน สามารถสร้างรายได้ให้กับตนเองได้ รวมถึงทำให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตและสุขภาพกายที่ดีขึ้น มีความรู้และมั่นใจในตนเอง กล้าคิดกล้าทำ สามารถเข้าสังคมได้มากขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุตระหนักถึงคุณค่าภายในตัวเอง พัฒนาตัวเองไปสู่การเป็นจิตอาสาช่วยเหลือสังคม และสร้างสังคมที่เป็นสุข ทั้งนี้ กิจกรรมสำคัญภายใต้เครือข่ายโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดเชียงราย