• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger

ภาพ - ข่าวคณะกรรมาธิการ

 

วันที่ 6 มีนาคม 2562 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... แถลงข่าว เรื่อง "ผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ) ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับกา

วันที่ 6 มีนาคม 2562 เวลา 10.30 นาฬิกา ณ ห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา 1 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์ ลิ่มสกุล เลขานุการคณะกรรมาธิการ นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ โษษกคณะกรรมาธิการและ รองศาสตราจารย์ทวีศักดิ์ สูทกวาทิน รองโฆษกกรรมาธิการ ร่วมกันแถลงข่าว เรื่อง "ผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ) ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 10 ฉบับของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และอนาคตคุณภาพการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของไทย" ว่าการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดกลไกสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำพาประเทศไปสู่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืนโดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจไปสู่ “ระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม” เพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 2. การพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อกำหนดขอบเขตหน้าที่และอำนาจอย่างชัดเจนทำให้การบริหารจัดการในระดับต่างๆ มีความเป็นเอกภาพสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้ง เกิดการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการบูรณาการ การเรียนการสอนการวิจัย และการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัย สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนปฏิรูปประเทศ 3. หลักการของการจัดตั้งการศึกษาสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย หลักความรับผิดชอบต่อสังคม หลักเสรีภาพทางวิชาการ หลักความเป็นอิสระ หลักความเสมอภาค หลักธรรมาภิบาล และหลักการอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะสารัตถะของกฎหมายการอุดมศึกษายังได้กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในอดีตไว้ด้วย 

(รายละเอียดตามเอกสารแนบ)