• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
 
 
 
 
 
 

โครงการฝึกอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR) และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ (AED)


วันที่  20  พฤศจิกายน  2566

 
 
นางสาวนภาภรณ์  ใจสัจจะ เลขาธิการวุฒิสภา ได้เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฝึกอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้น การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน (CPR)  และการใช้เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจแบบอัตโนมัติ (AED) โดยกล่าวถึงที่มาและความสำคัญของ ทีมฝ่ามือจันทรา CPR พาชีวิตรอด " ฝ่ามือ" หมายถึง มือบุคลากรของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทุกคน "จันทรา" หมายถึง ชื่อห้องประชุมวุฒิสภาเสมือนสัญญลักษณ์ของวุฒิสภา (ห้องประชุมจันทรา)
 
      

โดยโครงการนี้มีเป้าหมายการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับบุคลากรทุกคนร้อยละ 100 ภายในปี 2566 ปัจจุบันดำเนินการแล้ว ร้อยละ 51.40 ให้กับบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการประชุมวุฒิสภา การประชุมคณะกรรมาธิการ และสำนักที่แจ้งความประสงค์ขอให้จัดอบรม  อาทิ สำนักการประชุม สำนักกรรมาธิการ สำนักงานประธานวุฒิสภา สำนักกำกับและตรวจสอบ สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักการพิมพ์  โดยมีนางนวนันทน์  เนติธนากูล ที่ปรึกษาด้านระบบงานนิติบัญญัติ (ประธาน คกก.สร้างสุข) กล่าวรายงาน มีทีมวิทยากรจากสำนักการแพทย์ประจำรัฐสภา ทีมกู้ชีพฉุกเฉินจากวชิระพยาบาล และทีมฝ่ามือจันทรา CPR พาชีวิตรอด ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (เจ้าหน้าตำรวจรัฐสภา) 

 
วัตถุประสงค์ : กรณีเกิดเหตุการณ์พบเห็นบุคคลใกล้ตัว คนในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน อยู่ในภาวะเป็นลม/หมดสติ บุคลากรของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาสามารถประเมินสถานการณ์ พร้อมเข้าไปช่วยเหลือผู้หมดสติและผู้หยุดหายใจได้ทุกเมื่อ อย่างเหมาะสมทันท่วงที สามารถทำ CPR ได้อย่างถูกต้อง  และเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยฉุกเฉิน
 
 
      


 - รุ่นที่ 5 เวลา 9.00 นาฬิกา ณ สำนักการพิมพ์ ชั้น B1 อาคารรัฐสภา กลุ่มเป้าหมาย : บุคลากรสำนักการพิมพ์ จำนวน 68 คน
 
            - รุ่นที่ 6 เวลา 13.30 นาฬิกา ณ ห้องรับรองสมาชิกวุฒิสภา ชั้น 2 อาคารรัฐสภา กลุ่มเป้าหมาย : ผู้บริหาร บุคลากรสำนักงานประธานวุฒิสภา และสำนักกำกับและตรวจสอบ รวมจำนวน 115 คน                                                                        
 
ซึ่งทีม "ฝ่ามือจันทรา CPR พาชีวิตรอด"(เจ้าหน้าตำรวจรัฐสภา) สามารถปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับทีมกู้ชีพฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน  
 
 
ดำเนินโดย คณะกรรมการโครงการรัฐสภาร่วมใจรวมพลังสร้างสุขของ  สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา                                  
สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายใต้โครงการรัฐสภาร่วมใจรวมพลังสร้างสุข