• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา

ข่าวสารคณะกรรมาธิการ

 

การประชุมทางไกล ผ่านระบบ Webex กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วุฒิสภา (Senate Conservation Caucus : SCC) วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน 2563 เวลา 21.00 นาฬิกา 
ณ ห้องประชุม หมายเลข 2503 ชั้น 25 อาคารสุขประพฤติ 

กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ วุฒิสภา ของไทย(Senate Conservation Caucus : SCC) 
นำโดย พลเอก สุรศักดิ์  กาญจนรัตน์ ประธานกลุ่ม SCC 
นายวีระศักดิ์  โควสุรัตน์ รองประธานกลุ่ม SCC 
และพลเรือเอก ชุมนุม อาจวงษ์ สมาชิก SCC 

ได้เข้าประชุมทางไกล ผ่านระบบ Webex 
ร่วมกับวุฒิสมาชิกสหรัฐ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอเมริกาหรือ U.S. Congressmen โดยมีสมาชิกจากสภาผู้แทนราษฎรของสหราชอาณาจักรเข้าร่วมด้วยในลักษณะวงประชุมสนทนากลุ่มเฉพาะ ความยาวประมาณ 1 ชั่วโมง ดังนี้

>>สมาชิกรัฐสภาจากสหรัฐอเมริกา
1. Senator Sheldon Whitehouse 
2. Representative Jeff Fortenberry

>> สมาชิกรัฐสภาจากสหราชอาณาจักร
1. Rt Hon. Chris Grayling
2. Barry Gardiner MP

>>ผู้บริหารสูงสุดและผู้ประสานงานระดับภูมิภาคและประจำประเทศไทยของICCF หรือ International Conservation Caucus Foundation 
1. John B. Gantt
2. David Barron
3. Todd Koenings
4.  Roy Howell
5.  Issaya Siriwachanawong

โดยบทสนทนาตลอดหนึ่งชั่วโมง ครอบคลุมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่นการพัฒนากฏหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) การพัฒนากฏหมายขยะพลาสติกทะเล (Ocean Plastic Debris Legislation)เป็นอาทิ และในครั้งต่อๆไปก็จะขยายไปถึงเรื่องอื่นที่ตกลงกันว่าสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อสังเกตแก่กันได้

อนึ่ง สมาชิกแห่งรัฐสภาของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรนับเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในทางการเมืองของตะวันตก และผู้ที่ ICCF เชิญให้เข้าร่วมวงสนทนาครั้งนี้นับเป็นบุคคลระดับแกนนำในการขับเคลื่อนประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญ ซึ่งปกติจะมีภารกิจมากและนัดพบได้ยาก แต่เมื่อบุคคลเหล่านี้รับทราบว่าวุฒิสภาของไทยในยุคนี้ มีกลุ่มความสนใจที่จะขับเคลื่อนประเด็นด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีสาระงานที่เข้มข้นและมีผู้ขับเคลื่อนที่มีผลงานเป็นที่รู้จัก เช่น การพัฒนาแก้ไขกฏหมายที่ปฏิรูปด้านป่าไม้ ด้านทรัพยากรน้ำ สัตว์ป่า ไม้มีค่า การจัดการขยะพลาสติก การสร้างความร่วมมือเกี่ยวกับขยะทะเลในระดับภูมิภาค ผู้อาวุโสทางการเมืองข้างต้น และเครือข่ายจึงให้ความสนใจที่อยากจะสัมผัสเชื่อมสัมพันธ์และเปิดการสื่อสารด้วยกับเครือข่ายเพื่อการอนุรักษ์ ของวุฒิสภาไทย หรือ Senate Conservation Caucus (SCC)โดยตรง 

อนึ่ง ในสหรัฐอเมริกา แม้จะมีการแข่งขันช่วงชิงทางการเมืองของพรรคการเมืองทั้งพรรคเดโมแครตและพรรครีพลับลิกัน ที่เข้มข้นเพียงใด แต่สมาชิกในกลุ่มขับเคลื่อนทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มาจากทั้งภาคนักการเมือง ภาควิชาการและภาคประชาสังคม จะยืนหยัดบนหลักการที่ว่าเรื่องสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาตินั้นต้องไม่มีสี ไม่มีพรรค มีแต่ความร่วมมือ  เพราะมองว่าปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาจริงแท้ของระบบนิเวศน์ ที่มนุษย์ทุกสังกัดต้องอาศัยร่วมกัน

โดยในสมาชิกรัฐสภาของสหราชอาณาจักรก็ริเริ่มมีกลุ่มขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมในลักษณะและธรรมเนียมเดียวกัน  ซึ่งในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ สมาชิกวุฒิสภาในฐานะอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีบทบาทนำในการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและในฐานะประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของวุฒิสภาไทยจึงได้ชักชวนสมาชิกวุฒิสภาที่สนใจสนับเข้าร่วมและรวมตัวกันจัดตั้ง Senate Conservation Caucus (Thailand)ขึ้นในปีที่ผ่านมา

ดังนั้นจึงนับเป็นธรรมเนียมและวัฒนธรรมทางสังคมที่ประเทศและกลุ่มฝ่ายต่างๆน่าจะติดตามเรียนรู้และนำไปใช้ได้อย่างสอดคล้อง เพิ่มจากประโยชน์ของการผูกสัมพันธ์ทางวิชาการ ประสบการณ์และความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่ย่อมจะมีขึ้นจากความร่วมมือของเครือข่ายนี้ได้ต่อไปอีกด้วย