• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
คณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา

ประเด็นปฏิรูปที่ 4 

dried oranges and thyme
โครงสร้างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า (PDP)

เป้าหมาย

A plate of pancakes

     แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับใหม่ที่ได้มีการปฏิรูปโครงสร้างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า โดยคำนึงถึงการกำหนดสัดส่วนเชื้อเพลิงที่สมดุลและความเสี่ยงของการจัดหาเชื้อเพลิง ทั้งระบบ  ความสามารถในการพึ่งพาตนเองของประเทศในการผลิตไฟฟ้า กำลังผลิตสำรองที่เหมาะสมสำหรับโรงไฟฟ้าหลักและไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การกระจายระบบผลิตไฟฟ้าและการบริหารแหล่งเชื้อเพลิงตามศักยภาพที่มีรายละเอียดแยกตามภูมิภาค การผลิตไฟฟ้าใช้เองของผู้ใช้ไฟฟ้า (Prosumer) และข้อมูลระบบส่งไฟฟ้าเพื่อความมั่นคงและประสิทธิภาพด้านระบบไฟฟ้า รวมถึงการปฏิรูปโครงสร้างค่าไฟฟ้าทั้งระบบ


ตัวชี้วัด

the front of a house

- ปี 2562 : ศึกษาการปรับปรุงระบบส่งและระบบจำหน่ายให้มีความทันสมัยรองรับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าในอนาคต (Grid Modernization of Transmission and Distribution) ให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน
- ปี 2563 : จัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2020) โดยครอบคลุม Grid Modernization และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใน 2 ปี
- ปี 2565 : ประกาศใช้แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าตามแนวคิดใหม่ที่คำนึงถึงศักยภาพเชื้อเพลิง โครงสร้างพื้นฐาน ความมั่นคงเชิงพื้นที่ กำลังผลิตสำรอง ผลกระทบสิ่งแวดล้อม สัดส่วนเชื้อเพลิงที่สมดุล และความเสี่ยงในการบริหารจัดการที่เหมาะสมรองรับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปให้แล้วเสร็จ

 

ความคืบหน้าหน้าการดำเนินการ

ปี 2562

     สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินการศึกษาแนวทางการปรับปรุงระบบส่งและระบบจำหน่ายให้มีความทันสมัยรองรับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าในอนาคต เพื่อจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) ที่มีความทันสมัยรองรับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าในอนาคต

 

 

ปี 2563

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2020) โดยครอบคลุม Grid Modernization แล้วเสร็จ และกำหนดตัวชี้วัดของ 3 การไฟฟ้า เพื่อจัดทำแผน Grid modernization สำหรับเสนอคณะรัฐมนตรี รับทราบแผน PDP2018 ให้สอดคล้องกับนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก

 

 

ผลการดำเนินงานเทียบกับตัวชี้วัด

1. ปี 2562 ศึกษาการปรับปรุงระบบส่งและระบบจำหน่ายให้มีความทันสมัยรองรับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าในอนาคต (Grid Modernization of Transmission and Distribution) แล้วเสร็จ
     ตัวชี้วัดปี 2562 ศึกษาการปรับปรุงระบบส่งและระบบจำหน่ายให้มีความทันสมัยรองรับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้าในอนาคต (Grid Modernization of Transmission and Distribution) ให้แล้วเสร็จภายใน 18 เดือน

2. ปี 2563 : จัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2020) โดยครอบคลุม Grid Modernization แล้วเสร็จ โดยคณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) แล้ว
     ตัวชี้วัดปี 2563 : จัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2020) โดยครอบคลุม Grid Modernization และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใน 2 ปี

 

สรุปผลการติดตาม และข้อเสนอแนะที่สำคัญ

สรุปผลการติดตาม

     ผลการติดตามประเด็นปฏิรูปที่ 4 สถานการณ์การบรรลุเป้าหมาย ได้ดำเนินการเสร็จสิ้น ตามตัวชี้วัดของแผนปฏิรูปแล้ว โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2563 เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยสาระสำคัญของแผน PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 ที่เปลี่ยนไปจากแผนเดิม มีความสอดคล้องกับแนวคิดการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญ อาทิ การกำหนดสัดส่วนเชื้อเพลิงที่สมดุลและความเสี่ยงของการจัดหาเชื้อเพลิงทั้งระบบ ความสามารถในการพึ่งพาตนเองของประเทศในการผลิตไฟฟ้า ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมการกระจายระบบผลิตไฟฟ้าและการบริหารแหล่งเชื้อเพลิงตามศักยภาพที่มีรายละเอียดแยกตามภูมิภาค การจัดสรรโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนใหม่ตามนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ได้แก่ ขยะชุมชน โรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐ

 

ข้อเสนอแนะสำหรับการติดตามการดำเนินการ

 

     กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ควรร่วมกันพิจารณาทบทวนค่าพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าและกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมถึงปริมาณสำรองเพื่อความมั่นคงที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป พร้อมทั้งนำผลการศึกษาตามแนวทางของแผนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการจัดทำแผน PDP