• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
 
 
 
 
 
 

Green Office

หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย
การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

หมวด/ตัวชี้วัด หลักฐาน/เอกสารอ้างอิงการตรวจประเมิน

1.1 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม

1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน

(1) มีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของสำนักงาน
(2) มีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของสำนักงาน

1.1.1 มีบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อมในสำนักงาน
 
   กลุ่มตรวจสอบภายในได้ดำเนินการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของกลุ่มฯ
และมีการกำหนดขอบเขตกิจกรรมของของกลุ่มฯ ตามเอกสารหลักฐาน

         1.1.1 (1)-(2)  เอกสารแนบ

1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและ ครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

(1) การปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่าง ต่อเนื่อง
(2) การควบคุม ป้องกัน ลดผลกระทบด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และมลพิษ/ของเสีย รวมไปถึงการจัดซื้อ จัดจ้าง และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(3) การปฏิบัติตามกฎหมายและเกณฑ์การเป็นสำนักงานสีเขียวของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
(4) การสร้างความรู้และความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมกับผู้เกี่ยวข้อง

1.1.2 นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและ ครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
  กลุ่มตรวจสอบภายในได้กำหนดนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องและครอบคลุมประเด็นตามเกณฑ์สำนักงานสีเขียวโดยแสดงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องตามเอกสารหลักฐาน
1) ประกาศกลุ่มตรวจสอบภายใน เรื่อง นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
2) ประกาศกลุ่มตรวจสอบภายใน เรื่อง มาตรการการลดใช้พลังงาน ทรัพยากรและการควบคุมมลพิษทางอากาศ
 3) ประกาศกลุ่มตรวจสอบภายใน เรื่อง มาตรการการจัดการของเสียภายในกลุ่มตรวจสอบภายใน
 4) ประกาศกลุ่มตรวจสอบภายใน เรื่อง เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม


 
 

1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง

(1) นโยบายสิ่งแวดล้อมจะต้องได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ
(2) มีการระบุวันที่การประกาศใช้นโยบายสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจน
(3) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องสามารถอธิบายถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
(4) ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจจะต้องมีส่วนในการติดตามผลการปฏิบัติตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน

1.1.3 การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมจากผู้บริหารระดับสูง
ภายใต้นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ผู้บังคับบัญชากลุ่มตรวจสอบภายในได้กำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม ตามเอกสารหลักฐาน
1) ประกาศสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เรื่อง ประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
2) บันทึกข้อความเสนอผู้บังคับบัญชาลงนามประกาศกลุ่มตรวจสอบภายใน เรื่อง นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม เรื่อง มาตรการการลดใช้พลังงาน
และการควบคุมมลพิษทางอากาศ เรื่อง มาตรการการจัดการ
ของเสียในกลุ่มตรวจสอบภายใน และ เรื่อง เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม

 

1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี

(1) รายละเอียดของแผนจะต้องระบุการดำเนินงานครบถ้วนทุกหมวด
(2) มีการกำหนดเวลาหรือความถี่ของการดำเนินการของแต่ละหมวด
(3) มีการกำหนดแผนดำเนินการเป็นลายลักษณ์อักษร และได้รับการอนุมัติจากผู้บริหาร

1.1.4 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวประจำปี
กลุ่มตรวจสอบภายใน ได้กำหนดแผนการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว
ตามเอกสารหลักฐาน ดังนี้

 - แผนกำหนดการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (Green Office) กลุ่มตรวจสอบภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (หมวดที่ 1- หมวดที่ 6)
หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบาย การวางแผนการดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนัก
หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากรและพลังงาน
หมวดที่ 4 การจัดการของเสีย
หมวดที่ 5 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย
หมวดที่ 6 การจัดซื้อจัดจ้าง

1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้

(1) การใช้ไฟฟ้า
(2) การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
(3) การใช้น้ำ
(4) การใช้กระดาษ
(5) ปริมาณของเสีย
(6) ปริมาณก๊าซเรือนกระจก

1.1.5 มีการกำหนดเป้าหมาย และตัวชี้วัดที่ชัดเจนด้านการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย และปริมาณก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
-  ประกาศกลุ่มตรวจสอบภายใน เรื่อง เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
    เอกสารหลักฐาน

 

 

1.2 คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม

1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้

(1) ผู้บริหารแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และลงนามอนุมัติ โดยคณะกรรมการหรือทีมงานจะต้องครอบคลุมทุกหมวด และบุคลากร/ผู้แทนจากทุกฝ่ายในหน่วยงาน
(2) กำหนดอำนาจ บทบาท หน้าที่รับผิดชอบของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

1.2.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีแนวทางดำเนินงาน ดังนี้
- มีการแต่งตั้งคณะทำงานและมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะทำงานสำนักงานเสีเขียว (Green Office) หมวดที่ 1- หมวดที่ 6 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
 

1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถาม ดังนี้

(1) ประธาน/หัวหน้า
(2) คณะกรรมการหรือทีมงานทางด้านสิ่งแวดล้อมที่รับผิดชอบทุกหมวด (สามารถมอบหมายให้ผู้ตรวจประเมินแต่ละหมวดสุ่มสอบถามได้)

1.2.2 ร้อยละของคณะกรรมการ หรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่รับผิดชอบประเมินจากการสุ่มสอบถาม

อยู่ระหว่างดำเนินการ

1.3 การระบุประเด็นปัญหาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม

(1) มีการรวบรวมกิจกรรมของสำนักงานครบถ้วน
(2) มีการกำหนดผู้รับผิดชอบเหมาะสมและมีความเข้าใจ
(3) ระบุการใช้พลังงาน ทรัพยากร วัตถุดิบ มลพิษ ของเสีย ของแต่ละกิจกรรมจะต้องครบถ้วน
(4) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมทางตรงและทางอ้อมครบถ้วน
(5) ระบุปัญหาสิ่งแวดล้อมสภาวะปกติ ผิดปกติ และฉุกเฉินครบถ้วน
(6) มีการพิจารณากฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
(7) การประเมินเพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อม
(8) มีหลักฐานการกำหนดระยะเวลาในการทบทวนการระบุประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรและพลังงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(9) กรณีมีการปรับแผน/กิจกรรม หรือมีกิจกรรมเพิ่มเติม (เช่น มีแผนที่จะก่อสร้างอาคาร หรือเพิ่มเติมกิจกรรมของสำนักงานในอนาคตอันใกล้ เป็นต้น) จะต้องระบุกิจกรรมดังกล่าวด้วย (ถ้ามี)

1.3.1 กิจกรรมทั้งหมดของสำนักงานภายใต้ขอบเขตการขอการรับรองสำนักงานสีเขียวจะต้องได้รับการระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
 (1) ตารางวิเคราะห์กระบวนการทำงานของกลุ่มตรวจสอบภายใน
ประจำปี 2567

     - ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากร (Input)
      - ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ (Output)

(2) ตารางวิเคราะห์กระบวนการทำงาน และทะเบียนระบุ
      ประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากร (Input)
     
 และทะเบียนระบุประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม
ด้านมลพิษ (Output)  
     
 กรณีสภาวะฉุกเฉิน    
 (3) เกณฑ์การประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อม  โดยอ้างอิงจากคู่มือ
การดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

      - เอกสาร/หลักฐาน
 
1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(1) การวิเคราะห์ และจัดลำดับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มี  นัยสำคัญตามระดับความรุนแรง และมีการระบุมาตรการปฏิบัติ เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม 
     - ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากร (Input)
      - ทะเบียนระบุและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษ (Output)
    
(2) มีการกำหนดมาตรการ แนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
      - เอกสาร/หลักฐาน
(3) แผนบำรุงรักษาอุปกรณ์ที่สร้างมลพิษทางอากาศ
      - เอกสาร/หลักฐาน

(4) แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
      - เอกสาร/หลักฐาน
(5) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมลดปัญหาสิ่งแวดล้อม

     ของบุคลากรกลุ่มตรวจสอบภายใน ในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม
      - เอกสาร/หลักฐาน



 

 

1.3.2 การวิเคราะห์และแนวทางการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ

(1) มีสรุปรายการปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(2) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ
(3) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสาคัญมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการแก้ไขครบถ้วน
(4) กำหนดมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉิน
(5) ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดในสภาวะผิดปกติและสภาวะฉุกเฉินมีการดำเนินการตามมาตรการ คู่มือ หรือแนวทางการป้องกันครบถ้วน

1.4 กฎหมายและข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้

(1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง
(2) จัดทำรายการกฎหมายที่ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมและบริบทของสำนักงาน
(3) สามารถระบุแหล่งที่มาของกฎหมายและข้อกำหนดข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
(4) สามารถระบุความเกี่ยวข้องของกฎหมายกับประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อมได้
(5) กฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องจะต้องเป็นปัจจุบัน
(6) มีการรวบรวมและทบทวนกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

หมายเหตุ สำนักงานจะต้องค้นหากฎหมายท้องถิ่นเพิ่มเติม

1.4.1 มีการรวบรวมกฎหมายสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับสำนักงาน
(1) การรวบรวมกฎหมายด้านสิ่งแวดล้อมโดยอ้างอิงข้อมูล
       จากสำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
       - เอกสาร/หลักฐาน
(2) มีการกำหนดระยะเวลาการรวบรวมและทบทวนกฎหมาย
          ปีละ 1 ครั้ง
       - เอกสาร/หลักฐาน

1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน
         
อยู่ระหว่างดำเนินการ

1.4.2 ประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อมของสำนักงาน โดยมีการดำเนินการ ดังนี้

(1) ผู้รับผิดชอบมีความเข้าใจในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายกับการดำเนินงานการจัดการสิ่งแวดล้อม
(2) มีการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายครบถ้วน
(3) มีการอ้างอิงหลักฐานการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างครบถ้วนและถูกต้อง กรณีที่พบว่าการดำเนินงานไม่สอดคล้องกับกฎหมาย จะต้องมีการวิเคราะห์สาเหตุ และกำหนดแนวทางการแก้ไข (ถ้ามี)
(4) มีการกำหนดความถี่ในการประเมินความสอดคล้องของกฎหมายอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่เหมาะสมและมีการปฏิบัติตามที่กำหนดได้

1.5 ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก

1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน จะต้องประกอบไปด้วย

(1) ปริมาณการใช้ไฟฟ้า
(2) ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงสาหรับการเดินทาง
(3) ปริมาณการใช้น้ำประปา
(4) ปริมาณการใช้กระดาษ
(5) ปริมาณการเกิดของเสีย (ฝังกลบ)
(โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก(Emission Factor ; EF) ขององค์การบริหารก๊าซเรือนกระจกล่าสุด)

1.5.1 การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักงาน
 (1) ประกาศกลุ่มตรวจสอบภายใน เรื่อง เป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม
 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
 (2) การเก็บข้อมูลก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมในสำนักการพิมพ์ ประกอบด้วยข้อมูลปริมาณการใช้ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำประปา กระดาษ และขยะที่นำไปฝังกลบ ดังนี้
   - ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เดือนมกราคม 2567
   - ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เดือนกุมภาพันธ์ 2567
    - ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เดือนมีนาคม 2567

    - ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เดือนเมษายน 2567
    - ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เดือนพฤษภาคม 2567
   
 - ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เดือนมิถุนายน 2567
    ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เดือนกรกฎาคม 2567
    - ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก เดือนสิงหาคม 2567
     - ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก
 ดือนกันยายน 2567
1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย


1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน

อยู่ระหว่างดำเนินการ

1.5.2 ปริมาณก๊าซเรือนกระจกบรรลุเป้าหมาย

การเก็บข้อมูล กรณีบรรลุเป้าหมาย
(1) สรุปสาเหตุที่นำไปสู่การบรรลุ เพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การเก็บข้อมูล กรณีไม่บรรลุเป้าหมาย
(1) มีการวิเคราะห์สาเหตุในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
(2) มีแนวทางการแก้ไขในกรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมาย
(3) มีการติดตามผลหลังแก้ไข

1.5.3 ร้อยละของพนักงานมีความเข้าใจและการรับรู้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงาน โดยจะต้องสอบถามดังนี้

(1) ความสำคัญของก๊าซเรือนกระจกกับการทำสำนักงานสีเขียว
(2) แนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(3) ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของสำนักงานเมื่อเปรียบเทียบกับค่าเป้าหมาย
หมายเหตุ
1. พนักงานที่ถูกสอบถามจะต้องอธิบายให้ได้ทั้ง 3 ข้อ
2. สอบถามพนักงาน 4 คนขึ้นไป

1.6 แผนงานโครงการที่นำไปสู่การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการดังนี้

(1) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย จะต้องสอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อม หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญ หรือกฎหมายสิ่งแวดล้อม
(2) วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สามารถวัดผลได้
(3) กิจกรรม/นวัตกรรมที่กำหนดในโครงการสิ่งแวดล้อมมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
(4) ระยะเวลาการทำโครงการมีความเหมาะสม
(5) โครงการมีการกำหนดผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และจะต้องมีความเข้าใจ

1.6.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และโครงการสิ่งแวดล้อม จะต้องมีการดำเนินการ
1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

1.6.2 ผลสำเร็จของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย แนวทางการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

(1) มีแผนการดำเนินโครงการหรือนวัตกรรมที่ชัดเจน
(2) ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง
(3) มีการกำหนดความถี่ในการติดตามผลและปฏิบัติตามอย่างต่อเนื่อง
(4) มีการติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
(5) ดำเนินการเสร็จสิ้นและบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด / กรณีที่ไม่บรรลุเป้าหมายมีการทบทวนเพื่อหาสาเหตุและแนวทางแก้ไข
(6) มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืนหลังบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด

1.7 การตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงาน (สำหรับหน่วยงานต่ออายุ)

1.7.1 การวางแผนและดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสานักงาน

(1) มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานประกอบด้วยหัวหน้าผู้ตรวจประเมินและผู้ตรวจประเมิน ซึ่งจะต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว และหลักสูตรการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว
(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
(3) มีการจัดทำกำหนดการตรวจประเมินภายในครอบคลุมทุกหมวด
(4) กำหนดผู้ตรวจประเมินภายในแต่ละหมวดมีความเพียงพอและเหมาะสม มีความเป็นอิสระในการตรวจประเมินอย่างชัดเจน
(5) การดำเนินการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวภายในสำนักงานครบถ้วนทุกหมวด

หมายเหตุ : สำนักการพิมพ์ ดำเนินการขอตรวจประเมินสำนักงานสีเขียวเป็นปีแรก จึงยังไม่ต้องดำเนินการส่วนนี้

 

1.8 การทบทวนฝ่ายบริหาร

1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร

(1) มีผู้บริหารเข้าร่วมประชุม
(2) มีตัวแทนของแต่ละฝ่าย/แผนก/ส่วนงานที่มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในแต่ละหมวดเข้าร่วมประชุม
(3) จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมจะต้องมากกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้ที่เป็นคณะกรรมการสำนักงานสีเขียว พร้อมหลักฐานการลงนามเข้าร่วมประชุม
(4) หากผู้ที่จะต้องเข้าประชุมไม่สามารถเข้าร่วมได้ จะต้องมีวิธีการรายงานผลการประชุมให้รับทราบ พร้อมรับข้อเสนอแนะ

1.8.1 การกำหนดองค์ประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร
1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร

- มีการประชุมคณะทำงานของกลุ่มตรวจสอบภายใน เป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office) หมวดที่ 1 - หมวดที่ 6 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
 เมื่อวันพุธที่ 3 เมษายน 2565

1.8.2 มีการกำหนดวาระการประชุม และทำการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารดังนี้

(1) มีการประชุมทบทวนฝ่ายบริหารอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(2) วาระที่ 1 การติดตามผลการดำเนินงานปรับปรุงระบบฯที่ผ่านมา
(3) วาระที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม
(4) วาระที่ 3 ความมีประสิทธิภาพของคณะกรรมการหรือทีมงานด้านสิ่งแวดล้อม(ความเพียงพอและความเหมาะสม)
(5) วาระที่ 4 การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม การสื่อสารและข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติตามกฎหมาย รวมถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงและพัฒนา
(6) วาระที่ 5 การเปลี่ยนแปลงที่จะส่งผลกระทบต่อความสาเร็จในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม
(7) วาระที่ 6 ข้อเสนอแนะจากที่ประชุม และวิสัยทัศน์ แนวคิดของผู้บริหารของการดำเนินงานสำนักงานสีเขียวอย่างต่อเนื่อง
(8) จัดทำรายงานการประชุมทบทวนฝ่ายบริหาร และภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นว่ามีการประชุมจริง