หมวด/ตัวชี้วัด |
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิงการตรวจประเมิน |
5.1 อากาศในสำนักงาน
|
5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
(1) มีแผนการดูแลรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
(2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตาม แผนการดูแลรักษา
(3) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ 1
(4) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ 1
(5) การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
(6) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
(7) การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษทางอากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี)
(8) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่าย เป็นหลักฐานประกอบ)
|
5.1.1 การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
(1) - (2) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้ดำเนินการจัดทำแผนการบำรุงรักษาอุปกรณ์สำนักงานที่สร้างมลพิษทางอากาศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้กำหนดผู้รับผิดชอบไว้ชัดเจน
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
(3) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้ดำเนินการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ ดังนี้
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง
(4) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้ตระหนักถึงมลพิษทางอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสำนักงาน ดังนั้น จึงได้จัดทำประกาศสำนักการคลังและงบประมาณ เรื่อง มาตรการป้องกันและรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และสื่อรณรงค์การควบคุมมลพิษทางอากาศ โดยได้เผยแพร่ให้บุคลากรของสำนักฯ ได้ทราบและถือปฏิบัติต่อไป
หลักฐาน/เอกสารอ้างอิง 1
(5) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้จัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร ห่างจากผู้ปฏิบัติงานภายใน
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(6) สำนักงานฯ ได้มีการควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน โดยการติดป้ายดับเครื่องยนต์ ณ บริเวณลานจอดรถ ชั้นใต้ดิน B1 และ B2 และจัดทำภาพอินโฟกราฟฟิครณรงค์ให้บุคลากรได้ทราบและถือปฏิบัติต่อไป
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(7) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้จัดทำแผนการควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(8) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ประกาศสำนักการคลังและงบประมาณ เรื่อง มาตรการป้องกันและรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง ประจำปีงบประมาณ ทางแอพพิเคชั่นไลน์ (Line) เพื่อให้บุคลากรได้ทราบและถือปฏิบัติต่อไป
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
(1) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
(2) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
(3) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
(4) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณ ข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
(5) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่
|
5.1.2 มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
(1) สำนักการคลังและงบประมาณ มีการรณรงค์พิษภัยจากการสูบบุหรี่ ซึ่งได้จัดทำเป็นโปสเตอร์รณรงค์ เพื่อให้บุคลากรได้ทราบ โดยประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรได้ทราบทางแอพพิเคชั่นไลน์
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(2) บุคลากรของสำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีจิตสำนึกในการไม่สูบบุหรี่ในบริเวณพื้นที่ปฎิบัติงาน ทำให้พื้นที่ปฏิบัติงานภายในสำนักการคลังและงบประมาณเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ แต่เนื่องจาก สำนักการคลังและงบประมาณเป็นสำนักที่มีบุคคลภายนอกสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเดินทางเข้ามาติดต่อราชการเป็นจำนวนมาก ดังนั้น สำนักการคลังและงบประมาณจึงได้มีการติดป้ายสัญลักษณ์ในการห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(3) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้กำหนดพื้นที่สูบบุหรี่ไว้ภายนอกอาคาร โดยได้ติดสัญลักษณ์เพื่อให้เป็นเขตสูบบุหรี่
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(4) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้กำหนดเขตในการสูบบุหรี่ภายนอกตัวอาคาร ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง โดยได้กำหนดไว้บริเวณด้านหลังห้องอาหาร ชั้น 1 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(5) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีการตรวจสอบก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่เดือนละ 1 ครั้ง
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ อากาศจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้ มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงานมีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย
|
5.1.3 การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
(1) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้ดำเนินการจัดทำมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ อากาศจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร ตามประกาศสำนักการคลังและงบประมาณ เรื่อง มาตรการป้องกันและรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และได้เผยแพร่ให้บุคลากรของสำนักการคลังและงบประมาณได้ทราบและถือปฏิบัติต่อไป
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(2) สำนักการคลังและงบประมาณ ยังไม่มีผลกระทบจากมลพิษทางอากาศจากการปรับปรุงอาคาร แต่ได้แนวทางในการกำหนดมาตรการในกรณีที่มีมลพิษทางอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคาร
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.2 แสงในสำนักงาน
|
5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด
(1) มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปีพร้อม แสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุด ทำงานแลพื้นที่ทำงาน
(2) เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
(3) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
(4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
|
5.2.1 มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด
(1) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้รับการตรวจวัดความเข้มของแสง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จากอาจารย์พฤทธิ์เลิศ บุญเลิศ อาจารย์ที่ปรึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(2) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้รับการตรวจวัดแสงโดยใช้เครื่องวัดแสงที่มีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบจากมหาวิทยาลัยมหิดล
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(3) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้รับผลการตรวจวัดแสงที่เป็นไปตามมาตรฐานทางกฎหมายที่กำหนด
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(4) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มของแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเป็นหน่วยงานที่ไม่อยู่ภายใต้กระทรวงแรงงาน จึงไม่ต้องปฏิบัติตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑณ์วิธีการตรวจวัด และการวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง รวมทั้งระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ 2561 แต่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้ขอความอนุเคราะห์มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินการตรวจวัดความเข้มของแสง
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.3 เสียง
|
5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน
(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
|
5.3.1 การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน
(1) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน ตามประกาศ ตามประกาศสำนักการคลังและงบประมาณ เรื่อง มาตรการป้องกันและรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(2) สำนักการคลังและงบประมาณ ไม่พบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน แต่ได้มีการเตรียมพร้อมในการดำเนินการดังนี้
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
(1) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่ เกิดจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
(2) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ (1) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน แนวทางการกำหนดมาตรการ มีดังนี้
– มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
– มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย
|
5.3.2 การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
(1) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังเกิดจกการก่อสร้างปรับปรุงอาคารตามประกาศ ตามประกาศสำนักการคลังและงบประมาณ เรื่อง มาตรการป้องกันและรองรับผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและมลพิษทางเสียง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(2) สำนักการคลังและงบประมาณ ไม่พบว่ามีเสียงดังที่มาจากการจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่น ๆ แต่ได้มีการจัดทำแนวทางกำหนดมาตรการเพื่อรองรับกรณีเกิดเสียงดัง ดังนี้
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.4 ความน่าอยู่
|
5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของ สำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
(1) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและ นอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวมและพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่น ๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้
(2) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่าง เหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งใน อาคารและนอกอาคาร
(3) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
(4) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงานรวมไปถึงมีการปฏิบัติ จริงตามแผนงาน
|
5.4.1 มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของ สำนักงาน โดยจะต้องดำเนินการดังนี้
(1) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้จัดทำแผนผังของสำนักโดยได้กำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(2) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างเหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(3) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้ดำเนินการจัดทำกิจกรรม Big Cleaning และด้ดำเนินการจัดทำ 5ส
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(4) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้กำหนดแผนงานการบำรุงรักษาและการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด
|
5.4.2 ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด
สำนักการคลังและงบประมาณ ได้ใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักกำหนด คิดเป็นร้อยละ 100
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
|
5.4.3 ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่าง ๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น
สำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักกำหนด คิดเป็นร้อยละ 100
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
(1) มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ
(2) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ 1 ครั้ง
(3) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
(4) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
(5) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์นำโรคในระหว่างการตรวจประเมินของกรมฯ
หมายเหตุ : การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน
|
5.4.4 มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
(1) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้กำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(2) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้กำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(3) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีการสอบร่องรอยตามความถี่ที่กำหนด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(4) สำนักการคลังและงบประมาณ มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบรอ่งรอยสัตว์พาหะนำโรค
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(5) สำนักการคลังและงบประมาณ ไม่พบร่องยอสัตว์นำโรคในระหว่างการตรวจ
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.5 การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน
|
5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด
(1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
(2) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของพนักงานทั้งหมด
(3) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
(4) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
(5) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
(6) มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
(7) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟไปยังจุดรวมพลพร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
(8) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟพร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
|
5.5.1 การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด
(1) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภามีการซักซ้อมแผนป้องกันและการระงับอัคคีภัยของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และกำหนดการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(2) บุคลากรของสำนักการคลังและงบประมาณ เข้ารับการฝึกอบรมโครงการซักซ้อมอพยพหนีไฟตามแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(3) จำนวนบุคลากรของสำนักการคลังและงบประมาณที่จะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(4) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ในวันที่ 11 มกราคม 2567
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(5) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ในวันที่ 15 มีนาคม 2567
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(6) สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้กำหนดจุดรวมพลไว้ให้บุคลากรในกรณีเกิดเหตุไฟไหม้ จำนวน 2 ขุด คือ บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและด้านถนนสามเสน ซึ่งสามารถรองรับบุคลากรได้และมีป้ายแสดงอย่างชัด
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(7) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีเส้นทางหนีไฟในกรณีที่มีเหตุการณ์ไฟไหม้
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(8) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้มีการกำหนดทางออกฉุกเฉินทางหนีไฟพร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
|
5.5.2 มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละ
ของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
- แผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา 2566 - 2567
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|
5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
(1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
– ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่างอย่างน้อย 20 เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจาก พื้นไม่เกิน 150 เซนติเมตร นับจากคันบีบและถ้าเป็นวางกับพื้นที่จะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
– ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
– สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) ถ้ามี
(2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
– สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่ มากกว่า 300 ตารางเมตรหรืออาคารสูงเกิน 2 ชั้นขึ้นไป)
– ติดตั้งตัวดักจับควัน (smoke detector) หรือความร้อน (heat detector)
(3) มีการตรวจสอบข้อ (1) - (2) และหากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
(4) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้ง เตือนอย่างน้อยร้อยละ 75 จากที่สุ่มสอบถาม
(5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
|
5.5.3 ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย 4 คน)
(1) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
- ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน
สำนักการคลังและงบประมาณ ชั้น 1 มีถังดับเพลิง จำนวน 2 จุด และกลุ่มงานพัสดุ ชั้น B1 จำนวน 1 จุด และมีสายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) บริเวณทางเข้าห้องปฏิบัติงานของสำนักฯ จำนวน 1 จุด
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
- ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ไม่มี)
(2) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
- สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
- ติดตั้งตัวดักจับควัน (smoke detector)
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(3) สำนักการคลังและงบประมาณ ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อ (1) - (2) ทั้งในจุดที่อยู่ในชั้น 1 และกลุ่มงานพัสดุ ชั้น B1 โดยยังไม่พบว่าเกิดการชำรุด
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(4) บุคลากรของสำนักการคลังและงบประมาณ ได้รับการอบรมถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาแจ้งเตือนจากกลุ่มงานรักษาความปลอดภัย สำนักบริหารงาน
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
(5) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาแจ้งเหตุเพลิงไหม้
หลักฐานและเอกสารอ้างอิง
|