• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
คณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา

ภาพ - ข่าวคณะกรรมาธิการ

 

*** สรุปผลการเดินทางพบปะ สนทนา *** ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

เมื่อวันพุธที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๒
คณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา


นำโดย  พลเอก สกนธ์ สัจจานิตย์ ประธานคณะกรรมาธิการ และคณะ เดินทางศึกษาดูงานเพื่อพบปะ สนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้บริหาร ณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยมี นายวิบูลย์  ฤกษ์ศิระทัย ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวให้การต้อนรับคณะเดินทาง และบรรยายสรุปเกี่ยวกับการบริหารจัดการของ กฟผ. ซึ่งมีสาระสำคัญในเรื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย
 (๑) ภาพรวมขององค์กร (๒) ภารกิจของ กฟผ. ในปัจจุบัน สัดส่วนกำลังผลิตและพลังงานไฟฟ้าของ ๓ การไฟฟ้า การจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว LNG แบบ Term Contract การนำเข้า LNG แบบ Spot (๓) ภารกิจของ กฟผ. สำหรับอนาคต การพัฒนาโรงไฟฟ้าหลัก พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ รักษาความมั่นคง ในระบบไฟฟ้าให้สามารถรองรับพลังงานหมุนเวียนในอนาคต โดยการปรับปรุงโรงไฟฟ้าและระบบส่งให้มีความยืดหยุ่น (Grid Modernization) ความมั่นคงในระบบไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งไฟฟ้า เพื่อรองรับการ ซื้อขายไฟฟ้า ในภูมิภาค (Grid Connectivity) การเตรียมความพร้อมองค์กรสำหรับอนาคต (๔) สิ่งที่ กฟผ. ดูแลสังคม โครงการโรงไฟฟ้าชุมชน รณรงค์ส่งเสริมให้มีการใช้การผลิต/นำเข้าอุปกรณ์ไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง รณรงค์ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญของการใช้พลังงานในอาคารอย่าง มีประสิทธิภาพ ปลูกจิตสำนึกการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในหมู่เยาวชน เพื่อการประหยัดไฟฟ้าอย่างยั่งยืน

                   นอกจากนั้น คณะกรรมาธิการได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ว่าการ กฟผ. และผู้บริหาร     โดยคณะกรรมาธิการได้รับทราบข้อมูลในเรื่องต่าง ๆ อาทิ การเร่งรัดให้สร้างโรงไฟฟ้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี, การจัดหา ก๊าซธรรมชาติในภารกิจของ กฟผ., ความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้า, การสนับสนุนโครงการโรงไฟฟ้าชุมชน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก โดยมีโครงการนำร่องที่อำเภอแม่แจ่ม, แนวโน้มราคาค่าไฟฟ้า, ความคืบหน้าในการให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน, การแก้ไขปัญหาการสร้างโรงไฟฟ้าในกรณีไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน, ความคืบหน้าการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษโครงการ ๒, การส่งเสริม LNG ได้มีการดำเนินการอย่างไรในการรองรับ  การผลิตก๊าซในพื้นที่ทับซ้อนไทย - กัมพูชา ในอีก ๒ ปีข้างหน้า, การเตรียมเสนอแผนดูดซับน้ำมันปาล์มดิบ (CPO)  ให้กระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ คณะกรรมาธิการได้ให้ข้อสังเกตเรื่อง การเปิดเสรีในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจะเป็นการเอื้อให้ภาคเอกชนใช้โอกาสในการเข้าดำเนินการอย่างเสรีจนทำให้รัฐเสียความสมดุลในการควบคุมราคา

ดาวน์โหลดเอกสาร

แหล่งข้อมูล

คณะกรรมาธิการการพลังงาน