• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
คณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน

ภาพ - ข่าวคณะกรรมาธิการ

 

คณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ในวันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการ (สว.) หมายเลข ๓๑๓ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา (เกียกกาย)

                      ด้วยในคราวประชุมคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน ในคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา ครั้งที่ ๒๑/๒๕๖๓ วันพุธที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๓ ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องตามระเบียบวาระการประชุม สรุปได้ดังนี้
                                    ๑. พิจารณารายงานความคืบหน้าการดำเนินงานของคณะทำงาน
                                        ๑.๑ คณะทำงานศึกษากระบวนการเสนอกฎหมายโดยเครือข่ายภาคประชาชน
                                               ความคืบหน้า: คณะทำงานอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานการพิจารณาศึกษาต่อไป
                                       ๑.๒ คณะทำงานเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการเมือง
                                              ความคืบหน้า: คณะทำงานได้มีการประชุมเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๖๓ โดยได้เชิญนายพลเดช  ปิ่นประทีป ประธานคณะอนุกรรมาธิการ เข้าร่วมประชุม เพื่อหารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของคณะทำงานในปี ๒๕๖๔
                                        ๑.๓ คณะทำงานศึกษาแนวทางการจัดการปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองระดับชาติ
                                              ความคืบหน้า: ตามที่คณะทำงานได้เสนอข้อมูลที่ได้รวบรวมข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาความขัดแย้งจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นั้น นายพลเดช  ปิ่นประทีป ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ได้พิจารณาและจัดทำข้อเสนอ “แนวทางสมานฉันท์สร้างความสามัคคีในชาติ” ดังนี้
                                          มรรค ๘ สามัคคี สมานฉันท์  
                                                 ๑. ยึดประโยชน์สูงสุดของประเทศชาติ สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง
                                                 ๒. พรรคการเมืองประกาศจุดยืน - นโยบายเป็นรูปธรรม นำพาชาติบ้านเมืองก้าวพ้นปัญหาขัดแย้งเรื้อรัง
                                                 ๓. หยุดใช้สื่อปลุกระดมยั่วยุให้เกลียดชัง - ใช้ความรุนแรง สื่อมวลชนเสนอข้อมูลที่ถูกต้อง
                                                 ๔. ปกป้องระบบนิติรัฐ บังคับใช้กฎหมาย อำนวยกระบวนการยุติธรรม เสมอหน้า - เที่ยงธรรม
                                                 ๕. นิรโทษกรรมผู้เกี่ยวข้องอย่างมีเงื่อนไข นำหลักยุติธรรมระยะเปลี่ยนผ่านเข้ามาเสริม
                                                 ๖. เยียวยา - ฟื้นฟูผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทุกฝ่าย อย่างเหมาะสม - ต่อเนื่อง
                                                ๗. ขับเคลื่อนปรองดองเชิงป้องกัน สร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ได้พูดความจริงได้ นำสู่ความยุติธรรม
                                                ๘. พัฒนาผู้นำกระบวนการเสวนา เสริมสร้างบุคลิก สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจจิตอาสา    
                                  ๒. กรอบภารกิจ พ.ศ. ๒๕๖๔ ของคณะอนุกรรมาธิการการมีส่วนร่วมของประชาชน
                                      คณะอนุกรรมาธิการมุ่งเน้นภารกิจ “ขับเคลื่อนการเมืองวิถีใหม่โดยภาคประชาชน” กล่าวคือ
                                      - สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย โดยมีระบบนิติรัฐที่เข้มแข็ง
                                      - ก่อตั้ง – ขับเคลื่อนการเมืองวิถีใหม่ โดยมีเครือข่ายการเมืองวิถีใหม่
                                      - ขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคม – ชุมชนท้องถิ่น โดยเครือข่ายสภาประชาสังคมเข้มแข็ง
                                      - สร้างข่ายงานสนับสนุนการมีส่วนร่วม โดยมีระบบกองทุน – ทรัพยากรสนับสนุน
 

ดาวน์โหลดเอกสาร