• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger
แบนเนอร์ภาพข่าววุฒิสภา / สนช.

ภาพ - ข่าว

 
โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) แถลงถึงวาระการประชุมวุฒิสภา ในวันจันทร์ที่ 27 และ วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 ณ อาคารรัฐสภา

โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) แถลงถึงวาระการประชุมวุฒิสภา ในวันจันทร์ที่ 27 และ วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 ณ อาคารรัฐสภา

โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) แถลงถึงวาระการประชุมวุฒิสภา ในวันจันทร์ที่ 27 และ วันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 ณ อาคารรัฐสภา

วันที่ 22 มกราคม 2563 เวลา 12.15 นาฬิกา ณ จุดแถลงข่าวสื่อมวลชน ชั้น 1 อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) แถลงถึงการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ว่า สัปดาห์หน้า จะมีการประชุมวุฒิสภา จำนวน 2 วัน คือ ในวันจันทร์ที่ 27 จะมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560) จากนั้น จะมีการพิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฝ่ายวุฒิสภาในคณะกรรมการข้าราชการรัฐสภาแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 2 ตำแหน่ง
          สำหรับวันอังคารที่ 28 มกราคม 2563 จะมีการรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2562) ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา ได้รับทราบแนวทางการดำเนินการของคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติเกี่ยวกับการพิจารณารายงานความคืบหน้าของรายงานความคืบหน้าฯ ดังกล่าวแล้ว โดยได้มอบหมายให้คณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา จำนวน 26 คณะ ร่วมอภิปรายตามหน้าที่และอำนาจที่เกี่ยวข้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ 
         นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้เผยแพร่แนวทางของสหภาพรัฐสภา (Inter - Parliamentary Union) ในการจัดการเหยียดเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ และการใช้ความรุนแรงต่อสตรีในรัฐสภา (Guidelines for the elimination of sexism, harassment and violence against women in parliament) แก่กรรมาธิการสามัญของรัฐสภาที่เกี่ยวข้อง โดยสหภาพรัฐสภาได้เรียกร้องให้รัฐสภาทุกประเทศทั่วโลกดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ระบุอยู่ในเอกสารแนวทางดังกล่าว ประกอบด้วย ตัวอย่างแนวทางของแนวปฏิบัติที่ดีจากรัฐสภาทั่วโลก ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่จะช่วยวางมาตรฐานและนโยบายเพื่อปกป้องคุ้มครองสมาชิกรัฐสภาสตรี รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐสภาสตรี เพื่อให้รัฐสภาเป็นองค์กรที่ปลอดจากการเหยียดเพศ การล่วงละเมิดทางเพศ และการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ