• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger

ดเสวนดเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ทำไมต้องมี ... กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์”

ันที่ 18 กันยายน 2563 เวลา 13.00 นาฬิกา ณ ห้องประชุม หมายเลข 2702 ชั้น 27 อาคารสุขประพฤติ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา โดยคณะทำงานเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ในเด็กและเยาวชน ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ องค์การยูนิเซฟ (ประเทศไทย) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย จัดเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ทำไมต้องมี ... กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์” โดยมี นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา กล่าวเปิดการเสวนา
     จากการสำรวจพฤติกรรมของเด็กไทย อายุ 8-12 ปี จำนวน 1,300 คนทั่วประเทศผ่านแบบสำรวจออนไลน์ของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ในปี 2561 พบว่า เด็กไทยมีโอกาสเสี่ยงภัยออนไลน์ร้อยละ 60 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 56 โดยเด็กไทยใช้เวลากับหน้าจอท่องอินเทอร์เน็ต 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกถึง 3 ชั่วโมง ในส่วนของภัยออนไลน์หรือปัญหาจากการใช้ชีวิตในยุคดิจิทัลของเด็กไทยที่พบมากที่สุดมี 4 ประเภท คือ 1.กลั่นแกล้งรังแกทางออนไลน์ ทั้งการใช้ข้อความด้วยคำหยาบคายและตัดต่อภาพ ร้อยละ 49 2.เข้าถึงสื่อลามกและพูดคุยเรื่องเพศกับคนแปลกหน้าในโลกออนไลน์ ร้อยละ 19 3.ติดเกม ร้อยละ 12 และ 4.ถูกล่อลวงออกไปพบคนแปลกหน้า ร้อยละ 7
     ข้อมูลจากสายด่วนอินเทอร์เน็ตไทยฮอตไลน์ โดยมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ระบุจำนวนสื่อลามกอนาจารและการละเมิดทางเพศเด็กออนไลน์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากปี พ.ศ. 2560 ได้รับแจ้ง 1,421 รายการ เพิ่มเป็น 4,223 รายการในปี พ.ศ. 2561 และในปี พ.ศ. 2562 ได้รับแจ้งมากถึง 7,921 รายการ เด็กแจ้งว่ามีคนส่งสื่อลามกอนาจารมาให้โดยไม่ได้ร้องขอ มีการโน้มน้าวชักจูงให้ถ่ายคลิปส่วนตัวแล้วบันทึกขู่ประจานแลกกับเงินค่าไถ่หรือถูกนำคลิปไปขายทำเงินในกลุ่มลับที่มีรสนิยมทางเพศกับเด็ก เด็กชายมีแนวโน้มตกเป็นเหยื่อของการละเมิดและแบล็กเมลทางเพศเพิ่มขึ้น กลุ่มมิจฉาชีพใช้วิธีการหลากหลายมากขึ้นในการล่อลวงเด็กเพื่อผลิตสื่อลามกอนาจาร
     การเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง “ทำไมต้องมี ... กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์” จึงจัดขึ้นเพื่อให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสถานการณ์ภัยออนไลน์ที่กำลังคุกคามเด็กและเยาวชนไทย โดยเฉพาะการกลั่นแกล้งรังแกและการละเมิดทางเพศออนไลน์ อีกทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจต่อปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน และความจำเป็นในการผลักดันกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดต่อเด็กโดยใช้สื่อออนไลน์ และรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในการผลักดันกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดต่อเด็กโดยใช้สื่อออนไลน์เสนอต่อวุฒิสภาและรัฐบาล
     สำหรับการเสวนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรเข้าร่วมการเสวนาในประเด็นต่างๆ ประกอบด้วย “เมื่อโลกเปลี่ยน ... กฎหมายต้องปรับ” โดย ศ.พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ “สถานการณ์ด็กไทยกับภัยออนไลน์” โดย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช คณะทำงานเสริมสร้างการรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ฯ และอนุกรรมการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์ “การบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน” โดย ร.ต.อ.เขมชาติ ประกายหงส์มณี รองผู้อำนวยการกองกิจการต่างประเทศและคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ “ร่างบทบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดต่อเด็กผ่านสื่อออนไลน์” โดย ดร.มาร์ค เจริญวงศ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานคดีค้ามนุษย์ สำนักงานอัยการสูงสุด และการรับฟังความคิดเห็นการผลักดันกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดต่อเด็ก โดย รศ.ดร.พิศวาท สุคนธพันธุ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และผู้อำนวยการบริหารศูนย์กฎหมายภูมิภาคแม่น้ำโขง