• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger

คณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเพื่อเสนอแผนงานโครงการที่สนับสนุนเงินกู้ 4 แสนล้านบาทตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ณ อาคารรัฐสภา

กมธ. แก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำฯ แนะรัฐบาลพลิกวิกฤตเป็นโอกาส หนุนตำบลเข้มแข็งทั่วไทย

วันที่ 12 พฤษภาคม 2563 เวลา 11.00 นาฬิกา ณ ณ จุดแถลงข่าวสื่อมวลชน ชั้น 1 อาคารรัฐสภา คณะกรรมาธิการการแก้ไขปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา นำโดย นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการ แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเพื่อเสนอแผนงานโครงการที่สนับสนุนเงินกู้ 4 แสนล้านบาทตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 เพื่อให้การใช้จ่ายเงินของรัฐบาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พลิกวิกฤตโควิด-19 เป็นโอกาส ใช้เงินกู้พื้นฟูเศรษฐกิจ เศรษฐกิจท้องถิ่น และชุมชน 1 แสนล้าน หนุนตำบลเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 8,000 ตำบลทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาอาชีพ คุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อม และการอยู่ร่วมกัน เน้นประชาคม ท้องถิ่น ท้องที่ ทุกภาคส่วนในพื้นที่ร่วมคิด ร่วมทำ จัดการกันเอง โดยหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้การสนับสนุน โดยสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ด้านสร้างโอกาสทางสังคม ด้านความสามารถในการแข่งขันและด้านสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับแผนปฏิรูปประทศ ประเด็นชุมชนเข้มแข็ง รัฐบาลควรให้หน่วยงานของรัฐที่มีความคล่องตัวในการบริหารเป็นเจ้าภาพสนับสนุน มีคณะกรรมการกำหนดทิศทาง กำกับนโยบายที่มีผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาคประชาสังคม นักวิชาการจากทั้งภาคประชาสังคม นักวิชาการเอกชนและจากภาครัฐ อีกทั้งจัดให้มีระบบสนับสนุนการใช้เงินโดยให้ตำบลมีคณะกรรมการพหุภาคี วางแผนพัฒนาชุมชนแก้วิกฤต พัฒนาเศรษฐกิจฐานราก คุณภาพชีวิตและสิ่งแดล้อมอย่างองค์รวม จัดทำโครงการเสนอพิจารณารับการสนับสนุนงบประมาณ ทั้งนี้ อาจมีกรอบโครงการ หรือเมนูชุดโครงการกว้าง ๆ เป็นฐานคิดโครงการ ได้แก่ การสร้างความมั่นคงด้านข้าวปลาอาหาร การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อระบบสาธารณูปโภคและการพัฒนาภาคเกษตรกร อาทิ โครงการบ่อบาดาลน้ำตื้น ฝายต้นน้ำ ธนาคารน้ำใต้ดิน การพัฒนาวิสาหกิจฐานราก การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน การสร้างอาชีพใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ การเสริมสร้างสันติสุข การพัฒนาระบบดูแลผู้รับผลกระทบ ผู้ยากลำบาก และหนี้สินครัวเรือน 
       โอกาสนี้ ประธานกมธ. กล่าวว่า จะติดตามสถานการณ์ต่างๆ เพื่อผลักดันและเสนอแนะต่อรัฐบาลให้สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนให้ตรงจุดต่อไป