• Contrast of color default black white yellow black
  • Adjust font size smaller default bigger

ข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน พ.ศ. ....

แบบสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน พ.ศ. ....

บันทึกหลักการและเหตุผลและร่างพ.ร.บ.

ร่วมตอบแบบสำรวจออนไลน์

แบบสำรวจ(PDF)


ข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็น ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน พ.ศ. ....

๑.ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
ในปัจจุบันเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology) มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว และมีศักยภาพที่จะยกระดับความสามารถ ในการพัฒนาระบบการเงิน / เศรษฐกิจ และความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้อย่างก้าวกระโดด นอกจากนีเทคโนโลยี ทางการเงินสามารถพลิกโฉมกระบวนการ / วิธีการทำธุรกรรมต่าง ๆ ไปได้โดยสิ้นเชิง และอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะช่วยผลักดัน ประเทศไทยให้เข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบได้ ประเทศไทยจึงควรเปิดรับและฉกฉวยโอกาสในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี ทางการเงิน อย่างเต็มที่ ซึ่งรวมถึงการดำเนินการให้กฎหมาย / กฎเกณฑ์ต่าง ๆ มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะรองรับนวัตกรรม / business models ใหม่ ๆ เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถเปลี่ยนแปลง ปรับตัว และก้าวข้ามข้อจำกัดต่าง ๆ ทั้งในระดับธุรกิจ และระดับประเทศไปได้ร่วมกัน รวมทั้งเพื่อให้นวัตกรรมทางการเงินที่เป็นประโยชน์สามารถเกิดขึ้นได้จริงในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ โดยประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการทางการเงินได้อย่างทั่วถึง มีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ และปลอดภัย ตลาดการเงินไทยมี ecosystem ที่เอื้อต่อการแข่งขันอย่างเป็นธรรมระหว่างผู้เล่นต่าง ๆ โดยผู้เล่นไทยสามารถแข่งขันกับ ผู้เล่นต่างประเทศได้และภาคการเงินไทยสามารถเป็นกลไกสำคัญในการผลักดันให้เกิด การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างแท้จริงและยั่งยืน
 
๒.ความจำเป็นที่ต้องตรากฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหา
หนึ่งในอุปสรรคสำคัญของการนำเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้และพัฒนาต่อยอด ในประเทศไทยได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือกฎหมายที่ไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจและการทำธุรกรรมด้วยวิธีการทางดิจิทัล และยังเพิ่มต้นทุนทางเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ บทบัญญัติกฎหมายบางประการได้กำหนดหน้าที่ให้ผู้ให้บริการทางการเงิน ต้องดำเนินการ ตรวจสอบข้อมูล พิสูจน์ตัวตนของผู้ทำธุรกรรมกับผู้ให้บริการทางการเงิน เพื่อประโยชน์ต่อการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงิน อาชญากรรมร้ายแรง หรือการรักษาความมั่นคงของประเทศอันเป็นการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ แต่การได้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นไปได้ยากและสร้างต้นทุนในการดำเนินธุรกิจของผู้ต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้ ยังมีอุปสรรค ในการเข้าถึงข้อมูล ที่สามารถนำมาวิเคราะห์ วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ เพื่อให้เข้าถึงและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค ได้อย่างแท้จริง รวมทั้งเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ โดยข้อมูลเหล่านี้บางส่วนอยู่ในความครอบครองของเอกชน หรือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งในบางกรณีมีข้อจำกัดในการเข้าถึงหรือการให้ข้อมูล ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน ดังนั้น เพื่อแก้ไขอุปสรรคดังกล่าวและอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (ease of doing business) ตลอดจนการทำธุรกรรมด้วยวิธีการทางดิจิทัล เพื่อประโยชน์ในการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ วิจัย พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อเป็นการส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน ได้อย่างทั่วถึง และเพื่อลดต้นทุนในการทำธุรกรรมทางการเงินโดยรวมของประเทศ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
 
๓.สรุปประเด็นของร่างพระราชบัญญัติที่จะรับฟังความคิดเห็น

 
ทั้งนี้ ในแต่ละมาตรามีประเด็นที่จะรับฟังความคิดเห็นว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย หากไม่เห็นด้วย มีเหตุผลหรือข้อมูลอย่างไร โดยแสดงเหตุผลหรือข้อมูลนั้น พอสังเขปตามสมควร ดังรายละเอียดปรากฏตามแบบสำรวจความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการประกอบธุรกิจด้วยเทคโนโลยีทางการเงิน พ.ศ. ....
 
๔.วิธีการในการรับฟังความคิดเห็น
ทางเว็บไซต์ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา www.senate.go.th หรือ ส่งแบบสำรวจความคิดเห็นกลับไปที่ กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ๔๙๙ อาคารสุขประพฤติ ชั้น ๑๓ ถนนประชาชื่น บางซื่อ กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์/โทรสาร: ๐๒ ๘๓๑ ๙๓๐๓ /๐๒ ๘๓๑ ๙๓๐๔ หรือ email: boonsonkl3@gmail.com

๕.ระยะเวลา
จำนวน ๑๕ วัน ตั้งแต่วันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๐