• ความตัดกันของสี default black white yellow black
  • ปรับขนาดตัวอักษร smaller default bigger

อำนาจหน้าที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

    • ๑. รับผิดชอบงานด้านวิชาการและธุรการของวุฒิสภา
    • (๑.๑) งานด้านวิชาการและธุรการในการประชุมวุฒิสภา
    • (๑.๒) งานด้านวิชาการและธุรการในการประชุมคณะกรรมาธิการ
  • ๒. สนับสนุน ส่งเสริม และเผยแพร่การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเฉพาะบทบาทการดำเนินงานทางด้านนิติบัญญัติตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฯ ของวุฒิสภา
  • ๓. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัยในเรื่องต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับประกอบการพิจารณาดำเนินการงาน ของสมาชิกวุฒิสภาตามบทบาทและอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภา
  • ๔. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์และวิจัย รวมทั้งการเปรียบเทียบข้อมูลของนานาอารยประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับสนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับวงงานรัฐสภาต่างประเทศ ของวุฒิสภา
  • ๕. ประสานงานกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานตามภารกิจของวุฒิสภาและสมาชิกวุฒิสภา
  • ๖. ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ ประกาศและคำสั่งได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในการสนับสนุนและส่งเสริมการปฏิบัติงานตามภารกิจของวุฒิสภา เช่น ด้านงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ เป็นต้น
  • ๗. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่วุฒิสภามอบหมาย

อำนาจหน้าที่เลขาธิการวุฒิสภา

  • (๑) นัดประชุมวุฒิสภา และนัดประชุมคณะกรรมาธิการครั้งแรก
  • (๒) เชิญผู้เป็นประธานชั่วคราวของที่ประชุมวุฒิสภาและที่ประชุมคณะกรรมาธิการเข้าปฏิบัติหน้าที่
  • (๓) ช่วยประธานของที่ประชุมในการควบคุมการนับคะแนนเสียง
  • (๔) ควบคุมการทำรายงานการประชุมทั้งปวง
  • (๕) ยืนยันมติของวุฒิสภาไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • (๖) รักษาสรรพเอกสาร ข้อมูล และทรัพย์สินของวุฒิสภา
  • (๗) ควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระเบียบที่ประธานวุฒิสภากำหนด
  • (๘) กำกับดูแลการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • (๙) หน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับนี้หรือตามที่ประธานวุฒิสภามอบหมาย